งานหน้าบ้านของแอคชัวรี

17 ตุลาคม 2561

               จากครั้งที่แล้วที่ได้กล่าวถึงการให้สัมภาษณ์ในรายการ ก้าวทันประกันภัย” ทางช่อง Nation Channel ซึ่งก็ได้พูดคุยเกี่ยวกับ อาชีพ นักคณิตศาสตร์ประกันภัย ว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร และอาชีพนี้ ทำอะไรบ้าง รายการนี้เป็นรายการสด เพราะฉะนั้น คำถามและคำตอบ จากการสัมภาษณ์ครั้งนี้จึงออกมาแบบสด ๆ เป็นธรรมชาติ ซึ่งก็มีคำถาม ที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็น โดยเฉพาะคำถามที่ว่า “ในแต่ละวันนั้น แอคชัวรี ได้ทำอะไรบ้าง”

พอได้ฟังคำถามนี้เท่านั้น ก็รู้สึกได้ทันทีว่าเป็นคำถามที่ดีมาก เพราะเชื่อว่าคงมีคนไม่น้อยที่นึกสงสัยว่าจำเป็นด้วยหรือที่บริษัท จะต้องมีแอคชัวรีกันมากมาย เพื่อมานั่งคำนวณเบี้ยประกันภัยในบริษัท ประกันภัย

เมื่อฟังคำถามจบ ผมก็อดยิ้มที่มุมปากไม่ได้ ก่อนที่จะตอบ ไปว่า หน้าที่ของแอคชัวรีคงมีมากกว่าที่ทุกคนได้เห็นกันอยู่ เพราะงาน ของแอคชัวรีถ้าจะเปรียบง่าย ๆ แล้วก็ยังแบ่งออกเป็นงานหน้าบ้านกับ งานหลังบ้าน ซึ่งคราวนี้ผมขอเริ่มอธิบายงานหน้าบ้านก่อน

               งานหน้าบ้าน เป็นงานที่เกี่ยวกับการออกแบบประกันภัยเพื่อ หาความเป็นไปได้ว่า บริษัทจะสามารถขายสินค้าที่เป็นกระดาษแบบนี้ ออกมาได้หรือไม่ ซึ่งมันก็เหมือนกับเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการ (Project Feasibility) ก่อนที่บริษัทจะเริ่มลงมือลงทุนไปกับ โครงการนี้ โดยการที่จะรู้ว่าโครงการนี้จะสำเร็จได้หรือไม่ ก็คงต้องดูกัน ว่าจะขายได้หรือไม่ และถ้าขายได้แล้ว บริษัทจะสามารถแบกรับหนี้ ไปตลอดเพื่อจ่ายเงินคืนให้กับลูกค้าได้ครบถ้วนตามจำนวนและตาม ระยะเวลาที่กำหนดได้หรือไม่ ซึ่งนั่นก็หมายความว่าบริษัทจะต้องรู้ ว่าโครงการนี้พอมีกำไรเลี้ยงตัวเองได้ และการที่จะรู้ว่ามีกำไรหรือไม่ บริษัทจะต้องรู้ต้นทุนเสียก่อน


งานหน้าบ้านของแอคชัวรีหรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัย

             

ต้นทุนที่ว่าสำหรับบริษัทประกันภัยนี้ เป็นต้นทุนที่ไม่รู้ว่าจะ เกิดขึ้นเมื่อไร และเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเท่าไร ซึ่งเรื่องนี้ จำเป็นจะต้องอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยเข้ามาประยุกต์ ใช้เพื่อประมาณการหาต้นทุนของความเสี่ยงจากการวิเคราะห์อดีตและ จำลองอนาคตขึ้นมา

             การทำงานหน้าบ้านแบบนี้จะต้องมองการณ์ไกลเผื่ออนาคต ที่จะเกิดขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น การตัดต่อยีน เทคนิคการแพทย์ ใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้คนมีชีวิตยืนยาวขึ้น หรือแม้กระทั่งรถยนต์พลัง แสงอาทิตย์ที่อาจจะเป็นที่แพร่หลายในอนาคตก็ได้ และสิ่งที่ขาดไม่ได้ ก็คือการทำงานร่วมมือกับแผนกการตลาดและฝ่ายขายเพื่อที่จะเข้าใจ สภาพตลาด และมั่นใจได้ว่าสินค้าที่ออกแบบมานั้นสามารถนำไปขาย ได้จริง

 

             ดังนั้น แอคชัวรี จึงไม่ได้ทำแค่การคำนวณเบี้ยประกันภัยแต่ เพียงอย่างเดียว หากแต่การจะขายแบบประกันแต่ละอย่างออกมา ได้นั้น อาจจะต้องออกแบบประกันมาเป็นสิบตัว เพื่อเลือกแบบที่ เหมาะสมที่สุดกับตลาดนั่นเอง งานหน้าบ้านปกติแล้วจึงต้องคอยติดต่อกับฝ่ายต่าง ๆ ต่อไปนี้

             1. ฝ่ายการตลาด (Marketing) และ ช่องทางการจัด จำหน่าย (Distribution channel) ไม่ว่าจะเป็นตัวแทน (Agency) ธนาคาร (Bancassurance) หรือการขาย ตรง (Direct marketing) เพื่อพูดคุยกันว่าแบบประกัน ที่จะเอาออกไปขายนั้นสามารถขายได้หรือไม่ และมีผล ประโยชน์ให้กับช่องทางการจัดจำหน่ายและลูกค้าที่ สมดุลหรือไม่ เป็นต้น

             2. พิจารณารับประกัน (Underwriting) และพิจารณาการ จ่ายค่าสินไหม (Claim) ที่ต้องมั่นใจว่าความเสี่ยงที่ บริษัทรับเข้าและเม็ดเงินที่จะจ่ายออกไปนั้นสอดคล้อง กับเงื่อนไขในการจ่ายผลประโยชน์และการจัดการ ความเสี่ยงที่ได้ประเมินไว้ในการคำนวณตามหลักการ คณิตศาสตร์ประกันภัยหรือไม่ เพราะการได้พูดคุยกับ ฝ่ายนี้จะทำให้แอคชัวรีเห็นภาพออกว่าความเสี่ยงที่ บริษัทจะรับเข้ามานั้นมีมากน้อยแค่ไหน

             3. กฎหมาย (Legal) ที่จะช่วยร่างสัญญากรมธรรม์ให้มี ความถูกต้องและครอบคลุมไปตลอดอายุสัญญาของ กรมธรรม์

             4. ฝ่ายระบบดำเนินการ (Operation system) ที่จะต้อง รองรับระบบปฏิบัติการของบริษัทได้

             5. คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) ที่จะต้องอนุมัติแบบประกันแต่ละ แบบก่อนที่จะออกขายสู่ท้องตลาด โดยจะต้องมี แอคชัวรีที่เซ็นกำกับรับรอง เหมือนกับวิศวกรโยธา ที่เวลาจะสร้างแบบแปลนตึกที่ต้องเซ็นกำกับรับรอง โครงสร้างของตึก


ปกติเราเรียกแอคชัวรีที่ทำงานหน้าบ้านว่า

“โปรดักส์แอคชัวรี (Product Actuary)”

หรือ “มาร์เก็ตติ้งแอคชัวรี (Marketing Actuary)” กัน


ที่มา : วารสารประกันภัย


โดย : อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน) มือหนึ่งด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย คุณวุฒิสูงสุดระดับเฟลโล่

FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons) 

ผู้เขียนหนังสือขายดี The Top Job Secret ภาค 2 และที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ Love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงิน



Like Share

บทความอื่น