เกษียณเท่ากับเลิกจ้าง...ลูกจ้างเฮ...นายจ้างเตรียมเงินชดเชยสำรองไว้...

17 กรกฎาคม 2562


เกษียณเท่ากับเลิกจ้าง ลูกจ้างเฮ นายจ้างเตรียมเงินชดเชยสำรองไว้...



ทุกคนคงทราบดีอยู่แล้วว่า ถ้าเราโดนเลิกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างให้เรา (เป็นค่าทำขวัญ) แต่ข่าวดีที่หลายคนอาจยังไม่รู้ก็คือ ตอนนี้ กฎหมายแรงงานได้กำหนดเพิ่มเติมว่า “การเกษียณ” เท่ากับการเลิกจ้าง ซึ่งหมายความว่านายจ้างจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้างในตอนที่เกษียณ อีกทั้ง กฎหมายแรงงานยังได้กำหนดอายุเกษียณไว้เป็น 60 ปี (กันคนที่ไม่ยอมกำหนดอายุเกษียณ หรือกำหนดอายุเกษียณไกลเกินไป)


โดยอัตราค่าชดเชยตามอายุงาน คือ อายุงานมากกว่า 10 ปี ได้รับการชดเชย 10 เดือน หรือ 300 วัน หากทำงาน ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้รับการชดเชย เดือน อายุงาน ปี แต่ไม่ครบ ปี จะได้รับค่าชดเชย เดือน ทำงาน ปี แต่ไม่ครบ ปี จะได้ค่าชดเชย เดือน และทำงาน 120 วัน แต่ไม่ถึง ปี ได้รับค่าชดเชย เดือน


เกษียณอายุเท่ากับเลิกจ้าง

 

ข่าวดีซ้ำสองอีก คือ ตอนนี้ยังมีประเด็นในการปรับปรุง พรบ.คุ้มครองแรงงาน ซึ่ง ครม. ก็เพิ่งอนุมัติไปว่า ถ้าทำงานเกิน 20 ปี จะได้เงินชดเชย 400 วัน (13.3 เดือน) ซึ่งเราก็คงต้องรอฟังข่าวดีนี้กัน

        ถ้าเราไปดูที่ตัวกฎหมาย ให้อ้างอิงถึง มาตรา 118/1 ที่ถือว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรค เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง และกำหนดอายุของการเกษียณอายุไว้ที่ 60 ปีบริบูรณ์

        นายจ้างจึงไม่สามารถนั่งนิ่งนอนใจว่า ไว้รอให้ลูกจ้างเกษียณก่อนแล้วค่อยหาเงินมาจ่ายให้ เพราะถ้าทำแบบนั้น ในอนาคตบริษัทอาจจะหาเงินมาจ่ายไม่ไหว สุดท้ายคนที่เดือดร้อนก็คือลูกจ้างนี่แหละครับ

        นายจ้างจึงต้องเตรียมตัวหาเงินมาสำรองเป็นกองทุนไว้แต่เนิ่นๆ หรืออย่างน้อยก็ต้องตั้งเป็นหนี้สินของบริษัท (แน่นอนว่าเจ้าหนี้คือลูกจ้าง) ไว้เตรียมจ่ายเป็นเงินชดเชยยามที่ลูกจ้างเกษียณ

และนั่นเป็นที่มา ที่นายจ้างต้อง คำนวณผลประโยชน์พนักงาน ให้ตั้งเงินสำรองรับรู้เป็นภาระหนี้สินของบริษัท และทยอยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปีเอาไว้

     

ค่าชดเชยจากการเกษียณ


แต่การที่นายจ้างจะเตรียมจ่ายเงินในอนาคตอันไกลโพ้นเหล่านี้ มันคาดการณ์ได้ยากยิ่งเสียนี่กระไร เพราะไม่รู้แน่ว่าตกลงว่า ลูกจ้างแต่ละคนนั้นจะมีเงินเดือนในตอนนั้นเท่าไรในตอนที่เกษียณ และจะมีโอกาสทำงานอยู่กับบริษัทจนถึงเกษียณเป็นจำนวนเท่าไร ใครจะอยู่ ใครจะไป ซึ่งถ้าจะให้ไปตั้งหนี้สินแบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็คงจะผิดหลักการ กลายเป็นต้องตั้งเต็มจำนวนซึ่งก็จะมากเกินไปจากความเป็นจริงหลายเท่าตัว

       

ถ้ามองกันดีๆ แล้ว การคำนวณเงินสำรองสำหรับ ค่าชดเชยจากการเกษียณ เป็นการการันตีผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับตอนที่ทำงานจนถึงอายุเกษียณ ซึ่งหลักการตั้งเงินสำรองจะเหมือนกับหลักการเดียวกับแบบประกันชีวิต ที่การันตีผลประโยชน์ให้ในอนาคตที่ระบุไว้ ซึ่งหลักการที่ว่านี้จะอาศัยหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัย ในการคำนวณ เพื่อตั้งสำรองให้เหมาะสมไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป


เพราะโอกาสที่พนักงานแต่ละคนจะได้รับเงินชดเชย ก็ไม่ใช่ 100 และเรายังสามารถนำเงินไปลงทุนก่อนได้ จึงทำให้เราไม่ต้องทยอยตั้งสำรองเต็มจำนวน ซึ่งเงินที่ต้องเตรียมไว้จ่ายค่าชดเชยของแต่ละคนในยามเกษียณนั้น แทนที่จะต้องตั้งสำรองจ่ายเต็มๆ เราก็คำนวณโดยหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัย แล้วลดทอนด้วยหลักความน่าจะเป็น (ที่มีโอกาสไม่จ่าย) และ หลักการลงทุนดอกเบี้ยทบต้น (ที่มีโอกาสให้เงินทำงานงอกเงยดอกเบี้ย)

การคำนวณทางหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย แบบประกันชีวิตที่ประมาณไปในอนาคตระยะยาว จะทำให้นายจ้างไม่ต้องตั้งสำรองเต็ม และสามารถตั้งหนี้สินได้น้อยลงไปเยอะ 


นักคณิตศาสตร์ประกันภัยรับคำนวณเงินชดเชยสำรอง


วิธีการนี้มีใช้กันอยู่แล้วครับ เช่น บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทมหาชน จะใช้ มาตรฐานการบัญชีไทยฉบับที่ 19 (TAS19) เรื่อง ผลประโยชน์พนักงาน ที่ใช้หลัก คณิตศาสตร์ประกันภัย ในการคำนวณดังกล่าว เพื่อตั้งสำรองแบบนี้ไว้อยู่แล้ว

 ...ถึงจะซับซ้อนแต่ก็มีประโยชน์มากนะครับ... ซึ่งการ คำนวณผลประโยชน์พนักงาน ดังกล่าว ก็เหมือนกับการคำนวณผลประโยชน์ของกรมธรรม์ประกันชีวิต ทำให้เราสามารถใช้หลัก คณิตศาสตร์ประกันภัย มาคำนวณให้ได้ 


Reference : Post Today Newspaper


นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
อาจารย์บรรยายด้านการคำนวณผลประโยชน์พนักงานด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 
อาจารย์ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ Love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงิน
และผู้แต่งหนังสือ 
  •  The Top Job Secret ภาค 1 – อาชีพเงินล้านที่คนไทยยังไม่รู้จัก
  •  The Top Job Secret ภาค 2 - ทำน้อยได้มาก ฉลาดเลือกงาน 
  • ให้เงินทำงาน ภาค 1 - การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินให้ถูกวิธี (Asset Liability Management)
  • ให้เงินทำงาน ภาค 2 - วิเคราะห์ภาษีกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (ตัดสินใจวางแผนการออมเพื่อประโยชน์ทางภาษี)