คณิตศาสตร์ประกันภัยกับการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน ตามมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 19 (TAS19)

17 กรกฎาคม 2562

เมื่อพูดถึง มาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 19 (TAS19) นั้น นักบัญชีหรือผู้สอบบัญชีย่อมจะอ่านผ่านคำว่า "คณิตศาสตร์ประกันภัย" บ่อย ๆ เป็นแน่ ซึ่งตัวมาตรฐานนั้นได้กล่าวถึงทั้งหลักการทางคณิตศาสตร์ประกันภัย อย่างวิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ (Projected Unit Credit Method) ไปจนถึง "นักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary)"  ซึ่งผู้อ่านเคยสงสัยไหมว่า คณิตศาสตร์ประกันภัยนั้นมามีส่วนเกี่ยวข้องกับมาตรฐานบัญชีได้อย่างไร?


ถ้าจะให้อธิบายอย่างง่ายนั้น คณิตศาสตร์ประกันภัยก็คือการนำสถิติของความน่าจะเป็น (Probability) และคณิตศาสตร์การเงิน (Financial Mathematic) มาผสมผสานเพื่อสร้างแบบจำลองประมาณการกระแสเงินสดในอนาคต และภาระผูกพันที่ต้องตั้งในปัจจุบัน โดยถ้าจะมองในมุมมองนักบัญชีนั้น นักบัญชีคนไหน ๆ ก็ต้องเข้าใจหลักการคณิตศาสตร์การเงิน ส่วนความน่าจะเป็นนั้นก็แค่ต้องเอาตัวแปรสักตัวมาคูณ ถ้าหากแต่ในทางคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้นความน่าจะเป็นจะถูกแตกออกเป็นปัจจัยย่อย ๆ หลายปัจจัย และต้องสามารถอธิบายได้ว่าในการเลือกใช้สมมติฐานนั้นไม่ว่าจะเป็นอัตราหมุนเวียน อัตรามรณะ หรืออัตราทุพพลภาพ เป็นต้น จึงได้ผลการประมาณการที่ละเอียดกว่าจึงจะถือได้ว่าเป็นการประมาณการที่ดีที่สุด


ถ้าหากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างง่ายก็คงจะเปรียบได้กับการดูหนังภาพยนตร์ หรือการอ่านวรรณกรรมชื่อดัง อย่างเช่น Harry Potter หรือ Lord of the Ring ที่การอ่านจากหนังสือย่อมให้รายละเอียดที่ครบเครื่องมากกว่า และสามารถแสดงคุณค่าของตัววรรณกรรมนั้นออกมาได้อย่างเต็มที่ ก็เปรียบได้กับการประมาณการโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่สามารถแสดงธรรมชาติของภาระผูกพันได้ครบถ้วนกว่า


กิจการที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อสาธารณะ (Publicly Accountable Entitles: PAEs) จึงควรใช้การประมาณการ โดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยเพื่อที่จะได้เปิดเผยข้อมูลลักษณะธรรมชาติของภาระผูกพันอย่างละเอียดต่อผู้มีส่วนได้เสีย


กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entitles: NPAEs) อาจมองว่าการจ้างนักคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้นจะต้องใช้ต้นทุนสูง แต่ในปัจจุบันนี้ทางอาจารย์ทอมมี่ได้นำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (Automation) มาผสมผสานกับระบบออนไลน์ (Online) เพื่อลดต้นทุน และส่งเสริมให้กับกิจการเข้าถึง การคำนวณตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย มากยิ่งขึ้น


จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า การคำนวณของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย นั้นส่งผลต่อสถานภาพทางการเงินของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ จึงต้องจะต้องมีการสอบใบคุณวุฒิเพื่อรับรองความสามารถ และเพื่อให้มั่นใจว่าตัวเลขดังกล่าวสามารถเชื่อถือได้ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยระดับเฟลโล่ จึงเป็นคนที่มีคุณวุฒิในการประกอบวิชาชีพนี้โดยสมบูรณ์แล้ว ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ที่ เว็บไซต์ของสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย (The Societies of Actuaries of Thailand) https://soat.or.th/th/active-member-list



นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
อาจารย์บรรยายด้านการคำนวณผลประโยชน์พนักงานด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย
อาจารย์ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ Love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงิน
และผู้แต่งหนังสือ 
  • The Top Job Secret ภาค 1 – อาชีพเงินล้านที่คนไทยยังไม่รู้จัก
  • The Top Job Secret ภาค 2 - ทำน้อยได้มาก ฉลาดเลือกงาน 
  • ให้เงินทำงาน ภาค 1 - การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินให้ถูกวิธี (Asset Liability Management) 
  • ให้เงินทำงาน ภาค 2 - วิเคราะห์ภาษีกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (ตัดสินใจวางแผนการออมเพื่อประโยชน์ทางภาษี)

บทความที่เกี่ยวข้อง



Like Share

บทความอื่น