26 กันยายน 2561
สำหรับฉบับนี้ ผมขอนำรายละเอียดที่เป็นเรื่องราวของทิศทางภาพรวมในประเทศ เพื่อการขับเคลื่อนเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างยั่งยืนและมั่นคง ซึ่งบทความนี้เป็นปาฐกถาจากอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังท่านหนึ่ง "คุณกรณ์ จาติกวณิช" ที่เคยได้กล่าวไว้ให้กับสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย ซึ่งปาฐกถาของท่าน ได้กล่าวถึงเรื่อง “ข้อมูลจากนักวิเคราะห์” กับการนำไปใช้ในระดับของผู้กำหนดนโยบายของประเทศ รวมถึง ปัญหาประชากรศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย ไว้ดังนี้
“นักการเมืองตัดสินใจอย่างไม่มีเหตุผล หรือไม่ยอมเชื่อข้อมูลจากนักวิเคราะห์กันแน่ อันที่จริงเป็นเพราะความเสี่ยงทางการเมืองมากกว่าหรือไม่ เพราะในตอนนั้นภาวะแล้งจะถือเป็นปัญหาใหม่ ซึ่งคงจะไม่ค่อยมีคนวิจารณ์กันซักเท่าไหร่ แต่หากเกิดน้ำท่วมซ้ำอีกครั้ง อันนั้นประชาชนคงรับไม่ได้แน่
ดังนั้น นักคณิตศาสตร์ประกันภัย จะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลที่วิเคราะห์มาจะเป็นไปในทิศทางใด หากคนที่นำข้อมูลเหล่านั้นไปตัดสินใจแล้วปรากฎว่าออกมาผิดทาง (เช่น ปรากฎว่าไม่มีภาวะแล้ง แต่เกิดน้ำท่วมซ้ำรอยแทน) ก็จะมีผลทางการเมืองอย่างมากกับคนที่ตัดสินใจ
หรือ นักคณิตศาสตร์ประกันภัย จะทำอย่างไรที่จะผลักดันให้ ผู้กำหนดนโยบายได้ตัดสินใจบนการพยากรณ์หรือจำลองอนาคตถึงภัยพิบัติล่วงหน้า ทั้งๆ ที่รู้ว่าถ้าทำแล้วก็จะยังไม่เห็นผลลัพธ์ในทันที (แต่จะเกิดในระยะยาว ซึ่งผู้กำหนดนโยบายตอนนั้นอาจจะเปลี่ยนคน และปิดทองหลังพระไป
ในความเห็นของผม ผมคิดว่าคำตอบนั้นคือ ผู้กำกับดูแล (regulator) ซึ่งเป็นคนที่ใช้อำนาจกฎหมายระหว่าง policymaker (ผู้กำหนดนโยบาย) และ นักวิเคราะห์ นักวางระบบ เช่น นักคณิตศาสตร์ประกันภัย เป็นต้น
ธนาคารกลาง (ธนาคารแห่งประเทศไทย)
เป็นตัวอย่างที่ดีที่วิเคราะห์ความเสี่ยงในตลาดการเงินและออกมาสื่อสารกับสาธารณะ
พร้อมทั้งเตือนเรื่องอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระบบการเงินของประเทศ
ซึ่งถ้าภาคธนาคารก้าวกระโดดเร็วเกินไป ธนาคารกลางก็จะออกมากำกับให้ใกล้ชิดขึ้น
หรือถ้าการผู้ยืมมีมากเกินไป ธนาคารกลางก็จะออกมาขึ้นดอกเบี้ย
ยังมีอีกหลายอย่างที่หน่วยงานกำกับทั้งหลายต้องใช้ความพยายามเพื่อที่จะสร้างการเชื่อมต่อระหว่างบทวิเคราะห์ของ นักคณิตศาสตร์ประกันภัย กับการตัดสินใจทางการเมือง
เพราะถ้าเราทำไม่สำเร็จ ประเทศของเราคงจะเผชิญกับความลำบากในอนาคตเป็นแน่
สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยเท่านั้น
หากแต่เป็นประเทศในแถบเอเชียทั้งหมด ดังจะเห็นได้ว่าหลังจากวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 นั้น เราได้เชื่อมโยงกัน เพราะการกำกับดูแลได้พัฒนาขึ้นแล้ว
ขอยกอีกหนึ่งตัวอย่าง เกี่ยวกับปัญหาประชากรศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย โดยประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤติมากกว่า ประเทศอื่นๆ และก็ยังไม่มีการเตรียมการอย่างเพียงพอ เรื่องปัญหาสวัสดิการหลังการเกษียณอายุจะอยู่กับประเทศไปอีกนาน นี่ไม่ใช่เป็นแค่ปัญหาในระดับการเมือง แต่จะมีผลกระทบกับสังคมเราอย่างมาก โดยภายในอีก 20 ปีข้างหน้า ไทยเรากำลังจะเปลี่ยนจาก “คนทำงาน 4 คน ต่อ คนสูงอายุ 1 คน” กลายเป็น “คนทำงาน 2 คน ต่อคนสูงอายุ 1 คน” และเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเตรียมตัวกันตั้งแต่วันนี้ อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือเรื่องน้ำ ที่ไม่ใช่น้ำท่วม แต่เป็นเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำที่ขาดแคลน จะมีต้นไม้หรือพืชเศรษฐกิจชนิดไหนที่ควรปลูกในสถานการณ์ที่น้ำเป็นสิ่งหายาก และควรจะปลูกมันที่ไหน คำถามเหล่านี้ยังเป็นประเด็นที่รอคำตอบอยู่
ในบางครั้งคราว ที่ วิชาชีพคณิตศาสตร์ประกันภัย และผู้กำหนดนโยบายได้ทำงานร่วมกัน
โดยจากนโยบายที่ผ่านมาที่ผมได้รับผิดชอบในช่วงสมัยปี พ.ศ.2554
นั้นคือ การประกันพืชผล
โดยเอาเรื่องความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศออกไปจากการทำการเกษตร และเพิ่มความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
แต่ถึงอย่างนั้น มันก็ยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในวงกว้างเท่าใดนัก
เพราะความเสี่ยงควรที่จะต้องถูกกระจายออกไปให้เพียงพอมากกว่านี้
เพื่อให้เบี้ยประกันภัยอยู่ในระดับที่รับได้