กฎหมายแรงงาน 400 วัน เกี่ยวกับ “ผลประโยชน์พนักงาน”

12 กุมภาพันธ์ 2562

กฎหมายแรงงาน 400 วัน เกี่ยวกับ “ผลประโยชน์พนักงาน”

        จากที่เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา ทางสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีผลการพิจารณาสำหรับการรับรู้ผลกระทบจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ (ฉบับที่ 7) *



        อ้างถึง “หนังสือคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย) (กกร.)” เรื่อง การพิจารณาทางเลือกในการบันทึกบัญชีเพื่อรับรู้ผลกระทบจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ (ฉบับที่ 7)

        ผลการพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2562 มีมติเห็นว่า



  •         กรณีเป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน (“กิจการ”) ย่อหน้าที่ 103.1 ระบุว่า กิจการต้องรับรู้ต้นทุนบริการในอดีตเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อมีการแก้ไขโครงการ ดังนั้นกิจการจะรับรู้ต้นทุนบริการในอดีตเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในกำไรหรือขาดทุนในปี 2561 หรือปี 2562 ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลยพินิจของกิจการในการพิจารณาว่าการแก้ไขโครงการเกิดขึ้นในปีใด



  •         กรณีเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) ให้กิจการตั้งประมาณการหนี้สินตามดุลยพินิจของฝ่ายบริหารในงวดที่เกิดภาระผูกพันขึ้น (ตามหลักการรับรู้รายการในย่อหน้าที่ 304 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ) โดยบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในกำไรหรือขาดทุน




        คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีจึงขอประกาศผลการพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านทราบโดยทั่วกัน...

 



        * พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ (ฉบับที่ 7) ซึ่งกำหนดค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณีนายจ้างเลิกจ้างสำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน