เช็คสิทธิ ! ค่าลดหย่อนภาษีของคุณว่ามีอะไรบ้าง

20 เมษายน 2562

เช็คสิทธิ ! ค่าลดหย่อนภาษีของคุณว่ามีอะไรบ้าง



            ว่าด้วยเรื่องของค่าลดหย่อนภาษี เมื่อไม่นานมานี้ที่มีแนวคิดหรือข้อเสนอในการจัดเก็บภาษีคนโสดขึ้นในประเทศไทย เป็นที่ฮือฮาและถูกวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอย่างมากจนกลายเป็นทอร์คออฟเดอะทาวน์ (talk of the town)  หลายคนอาจจะบ่นว่าถ้าจะอยู่บนคานแล้วทำไมจะต้องเสียภาษีบนคานอีก วันนี้เรามาดูกันครับว่า ค่าลดหย่อนภาษีไม่ว่าคุณจะโสดหรือไม่โสดนั้น มีอะไรกันบ้าง


คุณมีสิทธิลดหย่อนอะไรบ้าง?


            ค่าลดหย่อน คือสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่ช่วยทำให้เสียภาษีน้อยลงเมื่อ คำนวณภาษี หรืออาจช่วยให้ได้เงินคืนภาษีเพิ่มขึ้น ประมวลรัษฎากร เปิดช่องให้เราสามารถหักลดหย่อนภาษี ซึ่งมักจะขึ้นอยู่กับสถานะโดยรวมของเราแต่จะไม่เกี่ยวข้องกับเงินได้ที่เราหามาได้ เช่น มีครอบครัวรึยัง ทำประกันชีวิตไว้ไหม กู้เงินซื้อบ้านรึเปล่า เป็นต้น

ค่าลดหย่อนต่างๆ ไม่ได้อยู่แค่ในประมวลรัษฎากรเท่านั้น แต่จะกระจายอยู่ในกฎหมายลูกหลานอื่นๆ ด้วย เช่น กฎกระทรวง ประกาศอธิบดี ฯลฯ


รายการค่าลดหย่อนปีภาษี 2562


รายการที่ลดหย่อนได้
อัตราค่าลดหย่อน
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว
฿60,000
2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส
คนละ ฿60,000 และกฎหมายอนุญาตให้มีได้สูงสุด 1 คน
3. ค่าลดหย่อนบุตร
คนละ ฿30,000 - ฿60,000
4. ค่าลดหย่อนบิดามารดา
คนละ ฿30,000
5. ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ
คนละ ฿60,000
6. ค่าฝากครรภ์และทำคลอด
ตามที่จ่ายจริงแต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินท้องละ ฿60,000
7. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป/เงินฝากแบบมีประกันชีวิต
ตามที่จ่ายจริงแต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน ฿100,000
8. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿15,000
9. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿15,000 และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน ฿100,000
10. ค่าซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน ฿500,000
11. ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)/กบข./กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน ฿500,000
12. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน ฿200,000 และเมื่อรวมกับข้อ 11. แล้วต้องไม่เกิน ฿500,000
13. เงินประกันสังคม
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿9,000
14. โครงการบ้านหลังแรก
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿200,000 เฉพาะปีภาษี 2562 ปีเดียว สำหรับคนที่ซื้อบ้านหลังแรกระหว่าง 30 เม.ย. - 31 ธ.ค. 2562 (สูงสุด ปีละ ฿120,000 เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี เฉพาะคนที่ซื้อบ้านหลังแรกระหว่าง 13 ต.ค. 2558 - 31 ธ.ค. 2559 )
15. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿13,200 และเมื่อรวมกับ ข้อ 11. และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน ฿500,000
16. ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿100,000
17. เงินลงทุนธุรกิจ Startup
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿100,000
18. ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต
2 เท่าของที่จ่ายจริง เมื่อมีเงินได้จากค่าเช่า, ค่าวิชาชีพอิสระ, ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ หรือ เงินได้การประกอบธุรกิจอื่นๆ
19. เงินบริจาคพรรคการเมือง
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿10,000
20. ค่าซ่อมบ้านน้ำท่วม
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿100,000 สำหรับค่าซ่อมระหว่าง 3 ม.ค. - 31 มี.ค. 2562
21. ค่าซ่อมรถน้ำท่วม
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿30,000 สำหรับค่าซ่อมระหว่าง 3 ม.ค. - 31 มี.ค. 2562
22. ช้อปช่วยชาติ
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿15,000 สำหรับค่าซื้อระหว่าง 1 - 16 ม.ค. 2562
23. ค่าลดหย่อนท่องเที่ยว
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿15,000-฿20,000 สำหรับค่าซื้อระหว่าง 30 เม.ย. - 30 มิ.ย. 2562
24. ค่าลดหย่อนสินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿15,000 สำหรับค่าซื้อระหว่าง 1 พ.ค. - 30 มิ.ย. 2562
25. ค่าลดหย่อน OTOP
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿15,000 สำหรับค่าซื้อระหว่าง 30 เม.ย. - 30 มิ.ย. 2562
26. ค่าลดหย่อนหนังสือและ e-book
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿15,000
27. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ
2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
28. เงินบริจาคทั่วไป
ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

รายการยกเว้นภาษีแบบพิเศษ

1. เครดิตภาษีเงินปันผล ใช้ยกเว้นภาษีได้ตามสัดส่วนที่ได้รับจากเงินปันผล
2. สิทธิประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ ได้ยกเว้นเงินได้ ฿190,000 แรก



            ประเด็นสำคัญในตารางนี้คือ ปีนี้ ค่าคลอดลูก สามารถลดหย่อนได้ 60,000 บาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ที่มาแก้ประเด็นเรื่อง ภาษีคนโสด ถ้ามองกันจริงๆ มันก็คือให้เป้าหมายเดียวกัน คือ สนับสนุนให้คนมีลูก 


“ภาษีคนโสด คือ ถ้าโสดอยู่ จะโดนเก็บภาษี
ค่าลดหย่อนคลอดบุตร คือ ถ้ามีลูก จะเสียภาษีลดลง”



ปรบมือให้กับคนออกนโยบายนี้ครับ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสรรพากร




Like Share

บทความอื่น