7 เหตุผล ของการเลือกซื้อประกันบำนาญ

13 พฤศจิกายน 2562

" 7 เหตุผล ของการเลือกซื้อประกันบำนาญ "


1. พันธบัตรดอกเบี้ยสูงๆ ในสมัยก่อนที่บริษัทประกันเคยเก็บสะสมเอาไว้จะเริ่มหมดไป ส่วนดอกเบี้ยจากพันธบัตรรัฐบาลตอนนี้ตกลงมาต่ำกว่า 2% แล้ว ทำให้คาดเดาได้ว่าในอนาคตจะต้องมีการเพิ่มเบี้ยประกันสูงขึ้นอย่างน้อย 10% – 20% อย่างแน่นอน โดยเฉพาะในยุคดอกเบี้ยต่ำแบบนี้ เบี้ยประกันที่ได้รับเข้ามา จะไม่สามารถนำไปลงทุนงอกเงยอะไรได้เป็นชิ้นเป็นอัน ทำให้ต้องเก็บเบี้ยประกันในแต่ละปีที่สูงขึ้น

2. เปลี่ยนเงินก้อนจาก Active income ในวันนี้ ให้กลายเป็น Passive income ในอนาคต ด้วยผลตอบแทนที่การันตี (ปัจจุบัน ประกันบำนาญทุกประเทศเป็นแบบที่การันตีผลประโยชน์เงินคืนอยู่) ซึ่งก็เหมือนกับพันธบัตร แต่สิ่งที่ประกันบำนาญทำได้มากกว่านั้นก็คือการล็อคอัตราผลตอบแทนในตอนที่ซื้อประกันบำนาญ ไปจนถึงอายุ 80 - 90 ปี ซึ่งไม่มีพันธบัตรไหนในประเทศไทยที่ยาวถึงขนาดนี้ จะมีก็แต่ประกันบำนาญเท่านั้น

3. ซื้อไปแล้วจะถอนเงินคืนออกมาเมื่อไรก็ได้ (เช็คสิทธิ์ลดหย่อนภาษีให้ดีก่อน) หรือจะใช้สิทธิ์เงินกู้ตามกรมกรรม์ก็ได้ ซึ่งมีสภาพคล่องที่ได้เปรียบกว่า RMF หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ต้องรอจนถึงอายุ 55 ปี

ประกันบำนาญ, พันธบัตร, ดอกเบี้ย, พันธบัตรรัฐบาล, อัตราผลตอบแทน, ลดหย่อนภาษี, หุ้นกู้, ตราสารหนี้

4. ถ้าเราออมเงินใน เงินฝากประจำ พันธบัตร หุ้นกู้ หรือพวกตราสารหนี้ต่างๆ ที่ให้ดอกเบี้ยการันตีแล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ได้รับมา จะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีด้วย ซึ่งปกติจะถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ที่ 15% (สมมติว่า ออมเงิน 100 บาท ได้ดอกเบี้ยมา 4 บาท จะต้องเสียภาษี 15% บน 4 บาท ที่ได้มาด้วย ทำให้เหลือดอกเบี้ยสุทธิ 3.40 บาท) แต่การซื้อประกันบำนาญจะไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้

5. ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 200,000 บาท เป็นของแถม (ศึกษารายละเอียดว่าแบบประกันบำนาญไหนที่เข้าข่ายลดหย่อนภาษีได้) ถ้าใครฐานภาษี 20% ก็เท่ากับเหมือนได้ลดเบี้ยไป 20% เป็นการจูงใจการออมที่น่าสนใจมาก

ประกันบำนาญ, พันธบัตร, ดอกเบี้ย, พันธบัตรรัฐบาล, อัตราผลตอบแทน, ลดหย่อนภาษี, หุ้นกู้, ตราสารหนี้


6. ตลาดพันธบัตรในอนาคตยังคงดอกเบี้ยต่ำ เหมือนญี่ปุ่นที่ผ่านมาเกือบ 20 ปี แล้วอัตราดอกเบี้ยไม่เคยสูงขึ้น นับวันมีแต่น้อยลงจนติดลบไปแล้ว ซึ่งถ้าเวลาผ่านไปอีก 20 ปี แล้วพันธบัตรในประเทศไทยคงไม่สามารถกลับมาให้ดอกเบี้ยได้สูงดังเดิมอีกต่อไป

7. การถือประกันบำนาญเป็นการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุน โดยถ้าคิดง่ายๆ อาจจะคิดว่ามันเหมือนเป็นพันธบัตรชนิดหนึ่งที่ไม่เสียภาษี 

สุดท้ายนี้ การวางแผนการเกษียณสำหรับคนไทยนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่จังหวะในการเลือกซื้อแบบประกันก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อตัดสินใจจ่ายเบี้ยประกันในปีแรกแล้วก็ควรจะจ่ายต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบหมด จึงจะคุ้มที่สุด โดยเฉพาะแบบประกันบางตัวที่เมื่อสมัย 20 ปี ที่แล้ว ถ้าใครถือเอาไว้จนถึงตอนนี้ ก็ยังได้ผลตอบแทนการันตีเฉลี่ยเกิน 5% ต่อปีกันถ้วนหน้า นอนกอด passive income กันสบายจนถึงตอนนี้

ขอขอบคุณอ้างอิง : เว็บซ์ภาควิชาจุลชีววิทยา 



สามารถอ่านเพิ่มเติ่มได้ที่...
"ส่องรอยเศรษฐกิจจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรแบบ Inverted Yield Curve"


"10 คำทำนายของประกันชีวิต ในยุคดอกเบี้ยต่ำ"



FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons)
นายกสมาคมนักคณิญศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย 
อาจารย์บรรยายด้านการคำนวณผลประโยชน์พนักงานด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 
อาจารย์ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงิน 
และผู้แต่งหนังสือ 
  • The Top Job Secret ภาค 1 – อาชีพเงินล้านที่คนไทยยังไม่รู้จัก
  • The Top Job Secret ภาค 2 - ทำน้อยได้มาก ฉลาดเลือกงาน 
  • ให้เงินทำงาน ภาค 1 - การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินให้ถูกวิธี (Asset Liability Management)
  • ให้เงินทำงาน ภาค 2 - วิเคราะห์ภาษีกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (ตัดสินใจวางแผนการออมเพื่อประโยชน์ทางภาษี) 

บทความที่เกี่ยวข้อง