5 นาที - ทำความรู้จักกับมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 19 (TAS19)

5 สิงหาคม 2562

หากใครที่ดูแลเรื่องภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานอยู่ ย่อมต้องเคยได้ยินเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีไทย ฉบับที่ 19 หรือ TAS19 มาบ้าง แต่บางคนอาจจะยังสงสัยอยู่ว่ามันคืออะไร เราจะมาตอบคำถามนี้กันครับ

มาตรฐานการบัญชีไทย ฉบับที่ 19 หรือ TAS19 นั้น เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานรายงานทางการเงิน สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for PAEs) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เจาะจงเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงานโดยเฉพาะ

ทำความรู้จักกับมาตรฐานบัญชีฉบับที่ 19


โดยมาตรฐานการบัญชีไทย ฉบับที่ 19 ได้ให้ความหมายของผลประโยชน์พนักงานไว้ว่า “สิ่งตอบแทนทุกรูปแบบที่กิจการให้เพื่อแลกเปลี่ยนกับบริการที่ได้รับจากพนักงานหรือการเลิกจ้าง” และมีการขยายความเพิ่มเติมอีกว่า
ผลประโยชน์ของพนักงานตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ รวมถึง
     ผลประโยชน์ที่ให้ภายใต้โครงการหรือข้อตกลงอื่นที่เป็นทางการระหว่างกิจการกับพนักงานแต่ละคน กลุ่มพนักงาน หรือตัวแทนของพนักงาน
     ผลประโยชน์ที่ให้ภายใต้ข้อกำหนดทางกฎหมายหรือผ่านทางข้อตกลงของกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดให้กิจการจ่ายสมทบเข้าโครงการระดับประเทศ โครงการระดับภาครัฐ โครงการอื่นของกลุ่มอุตสาหกรรมหรือโครงการของกลุ่มนายจ้าง หรือ
     ผลประโยชน์ที่เกิดจากการปฏิบัติอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งก่อภาระผูกพันจากการอนุมานการปฏิบัติอย่างไม่เป็นทางการซึ่งก่อให้เกิดภาระผูกพันจากการอนุมานเมื่อกิจการไม่มีทางเลือกที่เป็นจริงได้ทำให้จำต้องจ่ายผลประโยชน์ของพนักงาน ตัวอย่างของภาระผูกพันจากการอนุมาน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติที่ไม่เป็นทางการของกิจการที่จะทำให้เกิดความเสียหายที่ไม่สามารถยอมรับได้ต่อความสัมพันธ์ที่มีต่อพนักงาน”

การคำนวณผลประโยชน์พนักงานตามมาตรฐานบัญชีฉบับที่ 19

และจากนิยามทั้งหมดนี้ มาตรฐานบัญชีฉบับที่ 19 ได้แบ่งประเภทของผลประโยชน์พนักงานเป็นดังนี้ 
1. ผลประโยชน์ระยะสั้น คือ พวกเงินเดือน โบนัส หรือวันลาระยะสั้นที่ได้รับผลตอบแทน
2. ผลประโยชน์หลังเลิกจ้าง คือ ผลประโยชน์ที่จ่ายให้พนักงานเมื่อไล่ออกจากงาน

เข้าใจมาตรฐานบัญชีฉบับที่ 19 ใน 5 นาที

3. ผลประโยชน์หลังออกจากงาน คือ ผลประโยชน์ที่จ่ายให้พนักงานเมื่อเกษียณอายุ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

    • โครงการสมทบเงิน (Defined Contribution) คือ โครงการที่ลูกจ้าง และนายจ้างต่างฝ่ายตามสมทบเงินเข้ากองทุน และจะมีผู้จัดการกองทุนนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนให้เติบโต เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
     โครงการผลประโยชน์ (Defined Benefit) คือ ผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ตายตัว มีเงื่อนไขชัดเจนว่าจะจ่ายเงินชดเชยให้เท่าไร เช่น เงินชดเชยตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน

คำนวณเงินสำรองด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย

4. ผลประโยชน์ระยะยาวอื่น ตามมาตรฐานบัญชีกล่าวว่าคือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ 3 ประเภทแรก ยกตัวอย่างเช่น รางวัลเมื่อทำงานเป็นระยะเวลานาน หรือ ทำงานครบ 5 ปีได้เงิน 10,000 บาท ทำงานครบ 20 ปี ได้เงิน 50,000 บาท เป็นต้น
โดยในมาตรฐานบัญชีฉบับนี้ ได้ระบุว่า สำหรับผลประโยชน์หลังออกจากงานแบบ โครงการผลประโยชน์ และ ผลประโยชน์ระยะยาวอื่นนั้น สนับสนุนให้คำนวณเงินสำรองด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 
     สาเหตุเป็นเพราะทั้ง 2 แผนผลประโยชน์นี้ เป็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในระยะยาว และและไม่สามารถรับรู้ค่าใช้จ่ายได้ภายใน 12 เดือน จึงต้องมีการนำหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยมาช่วยคำนวณ ต่างจากพวกเงินเดือน โบนัส หรือเงินชดเชยเมื่อไล่ออก ที่เป็นผลประโยชน์ระยะสั้น ๆ สามารถรับรู้ได้ทันที


นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
อาจารย์บรรยายด้านการคำนวณผลประโยชน์พนักงานด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 
อาจารย์ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ Love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงิน
และผู้แต่งหนังสือ 
  •  The Top Job Secret ภาค 1 – อาชีพเงินล้านที่คนไทยยังไม่รู้จัก
  •  The Top Job Secret ภาค 2 - ทำน้อยได้มาก ฉลาดเลือกงาน 
  • ให้เงินทำงาน ภาค 1 - การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินให้ถูกวิธี (Asset Liability Management)
  • ให้เงินทำงาน ภาค 2 - วิเคราะห์ภาษีกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (ตัดสินใจวางแผนการออมเพื่อประโยชน์ทางภาษี)

บทความที่เกี่ยวข้อง