การคำนวณผลประโยชน์พนักงานคืออะไร

8 สิงหาคม 2562

การคำนวณผลประโยชน์พนักงานคืออะไร

คำว่า “คำนวณผลประโยชน์พนักงาน” หลายคนคงสงสัยว่าคำนวณอะไร หากจะให้เข้าใจง่าย ๆ เราจะลองมาดูตัวอย่างสมมติต่อไปนี้กัน

สมมติว่าเราตั้งเป้าว่าจะให้รางวัลตนเองที่ทำงานอย่างหนักในอีก 10 ปีข้างหน้าว่า จะไปเที่ยวต่างประเทศ โดยกำหนดเงื่อนไขว่า วันใดที่เราไปทำงาน เมื่อกลับมาถึงบ้านจะหยอดเงินในกระปุก 100 บาท หากผ่านไป 1 ปี เราทำงานทั้งหมด 300 วัน ก็แปลว่า ณ วันสิ้นปี หากเราเปิดกระปุกมาดูก็จะมีเงิน 30,000 บาทและหากผ่านไป 3 ปี ทำงานทั้งหมด 1,000 วัน ก็จะต้องมีเงินในกระปุก 100,000 บาท


คำนวณผลประโยชน์พนักงาน คืออะไร

แต่ในชีวิตจริง เราอาจจะไม่ได้มีวินัยขนาดนั้น บางวันลืมหยอดเงิน บางวันหยอดแล้วและก็เผลอหยอดซ้ำอีก บางวันลืมกดเงินออกจากบัญชี หรือช่วงปลายเดือนอาจจะเข้าสู่
ภาวะช็อตเงินชั่วคราว ซึ่งเป็นสาเหตุให้ยอดเงินอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เราคาดหวังไว้ ตลอด 1 ปี ทำงานไป 300 วัน แต่เงินในกระปุกอาจจะไม่เท่ากับ 30,000 บาทก็ได้

เมื่อถึงสิ้นปี เราก็ต้องมานั่งนึกเอาว่า ที่ผ่านมาทำงานไปกี่วันกันแน่แล้วก็ค่อยคำนวณออกมาเป็นยอดเงินสะสมที่ควรจะมีอยู่ในกระปุก กลับมาที่ผลประโยชน์พนักงาน บริษัทจะต้องจ่ายเงินชดเชยเมื่อเกษียณอายุให้กับพนักงานในอนาคต ซึ่งตามมาตรฐานการบัญชี กำหนดให้ต้องเริ่มสะสมเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ เหมือนกับในตัวอย่างที่ค่อย ๆ สะสมเงินเพื่อไปเที่ยวในอนาคต 10 ปีข้างหน้า ยิ่งทำงานมาก ยอดเงินที่สะสมไว้ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ดังนั้นการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน ก็เลยคล้ายคลึงกับการคำนวณยอดเงินเก็บในกระปุกตามตัวอย่าง คือนักคณิตศาสตร์ประกันภัยก็จะต้องมาคำนวณ ตั้งแต่พนักงานเริ่มงานตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบัน ควรจะต้องมียอดเงินสะสมเท่าไร

ซึ่งมันจะซับซ้อนกว่าตัวอย่างที่กล่าวมาตรงที่ว่า การคำนวณในตัวอย่างจะสามารถกำหนดได้เองว่าทำงาน 1 วัน จะต้องสะสมเงินเท่าไร แต่ในเรื่องการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน
ไม่สามารถกำหนดเองได้ตามใจชอบ

ทั้งนี้ ในการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน จะเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฉบับคือ


การคำนวณผลประโยชน์พนักงาน บริษัทจ่ายเงินชดเชยเมื่อเกษียณอายุ


TFRS for NPAEs

หรือมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ซึ่งในมาตรฐานไม่ได้กล่าวถึงการคำนวณผลประโยชน์พนักงานโดยตรง แต่พูดรวม ๆ เกี่ยวกับหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต (ซึ่งการคำนวณผลประโยชน์พนักงานจะรวมในส่วนนี้ด้วย) แน่นอนว่าไม่ได้มีการกำหนดวิธีการคำนวณไว้อย่างแน่ชัด แต่หลักการสำหรับมาตรฐานฉบับนี้ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป หากเทียบกับการเก็บเงินเที่ยวต่างประเทศตามตัวอย่างเดิม จะเป็นว่าเราจะทำงานไปเรื่อย ๆ และเมื่อครบ 1 ปีค่อยมานับย้อนหลังว่าในปีที่ผ่านมา เราทำงานไปกี่วัน เช่น 310 วัน ก็จะเติมเงินในกระปุกไป 31,000 บาท วิธีนี้มีข้อดีคือไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ก็มีข้อเสียคือต้องรอครบรอบปีก่อน จึงจะรู้ว่าปีนี้จะต้องหยอดเงินในกระปุกเท่าไร ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาว่าไม่มีเงินมากพอที่จะสำรองไว้ตามที่ควรจะเป็น

คำนวณผลประโยชน์พนักงาน มาตรฐานการบัญชีไทยฉบับที่19

TFRS for PAEs

หรือมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ซึ่งมีมาตรฐานฉบับย่อย ๆ ที่พูดถึงการคำนวณผลประโยชน์พนักงานโดยเฉพาะคือ TAS19 หรือมาตรฐานการบัญชีไทยฉบับที่ 19

โดยหลักการของมาตรฐานฉบับนี้คือการมองไปข้างหน้า ยกตัวอย่างเดิมคือหยอดเงินใส่กระปุกไปเที่ยวต่างประเทศ แทนที่เราจะรอจนครบปีแล้วใส่เงินลงไป เราจะคาดการณ์ไปในอนาคต 1 ปีข้างหน้าว่า เราจะทำงานกี่วัน เช่นเราลองนับดูแล้วคิดว่าปีนี้จะทำงาน 290 วัน ก็จะถือว่าปีนี้เราควรมีเงินในกระปุก 29,000 บาท และเมื่อถึงปลายปีก็ค่อยมานับดูว่า เราทำงานได้ 290 วันตามที่คิดไว้หรือไม่ หากขาดก็ต้องหาเงินมาเติม หรือหากเกินก็นำเงินออกไปใช้จ่ายได้

วิธีนี้จะยุ่งยากซับซ้อนกว่าวิธีแรก แต่มีข้อดีตรงที่เราสามารถรับรู้ล่วงหน้าก่อนว่าปีนี้จะต้องหยอดเงินในกระปุกเท่าไร จะได้เตรียมเงินไว้ แม้จะคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่เงินที่ต้องหามาเติมในกระปุกในช่วงปลายปีก็จะน้อยกว่าวิธีแรก ๆ เพราะส่วนหนึ่งได้เตรียมไว้ล่วงหน้าแล้ว


บทสรุป

สรุปคือการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน เป็นการคำนวณว่าตั้งแต่วันแรกที่พนักงานทำงานจนถึงปัจจุบัน บริษัทจะต้องเตรียมเงินไว้สำหรับการจ่ายเงินชดเชยเกษียณอายุไว้จำนวนเท่าไร ซึ่งจะรอให้ถึงสิ้นปีก่อนแล้วค่อยคำนวณผลประโยชน์พนักงานทีเดียว หรือจะประมาณการไปข้างหน้าก่อน แล้วค่อยปรับปรุงตามหลัง ก็ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทมีความจำเป็นจะต้องคำนวณผลประโยชน์พนักงานตามมาตรฐานชุดใด

สำหรับบริษัทใดที่ต้องการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน สามารถติดต่อบริษัท ABS ที่เชี่ยวชาญด้านการคำนวณผลประโยชน์พนักงานโดยเฉพาะ และรับคำนวณผล

ประโยชน์พนักงานด้วยราคาที่เข้าถึงได้ โดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย คุณวุฒิสูงสุดระดับเฟลโล่ จากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และไทย คุณภาพมาตรฐานสากล ดูแลทั้ง

กระบวนการคำนวณให้กับลูกค้า ตอบทุกคำถามอย่างใกล้ชิด รับประกันความพึงพอใจ ด้วยประสบการณ์กว่า 25 ปี ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้สอบบัญชีและผู้ใช้บริการกว่า

2,000 บริษัท ทั้งในและต่างประเทศ


ล่าวโดยสรุปคือ เราสามารถให้ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยช่วยวิเคราะห์และคำนวณผลประโยชน์พนักงานได้อย่างมืออาชีพ โดยดูเสียงตอบรับ

ความประทับใจ และประสบการณ์จริงจากผู้ที่เคยใช้บริการการคำนวณผลประโยชน์พนักงานที่ผ่านมาได้ที่ www.actuarialbiz.com/th/testimonial

เขียนและเรียบเรียงโดย อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน)

FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons)

อดีตนายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย และอาจารย์บรรยายด้านการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน
ด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 19



Like Share

บทความอื่น