ทำไมต้องตั้งเงินสำรองทางคณิตศาสตร์ประกันภัย เพื่อเงินชดเชยยามเกษียณจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

15 กรกฎาคม 2561


อัตราค่าชดเชยตามอายุงานเมื่อทำงานจนถึงอายุเกษียณ คือ อายุงานมากกว่า 10 ปี ได้รับการชดเชย 10 เดือน หรือ 300 วัน หากทำงาน ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้รับการชดเชย เดือน อายุงาน ปี แต่ไม่ครบ ปี จะได้รับค่าชดเชย เดือน ทำงาน ปี แต่ไม่ครบ ปี จะได้ค่าชดเชย เดือน และทำงาน 120 วัน แต่ไม่ถึง ปี ได้รับค่าชดเชย เดือน "

นายจ้างจะทำการตั้งเงินสำรองเป็นเงินกองทุนของบริษัทเพื่อเอาไว้จ่ายลูกจ้างในอนาคต โดยการคำนวณเงินสำรองสำหรับ ค่าชดเชยจากการเกษียณ  (ซึ่งเท่ากับเลิกจ้าง) เป็นการการันตีผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับตอนที่ทำงานจนถึงอายุเกษียณ ซึ่งหลักการตั้งเงินสำรองจะเหมือนกับหลักการเดียวกับแบบประกันชีวิต ที่การันตีผลประโยชน์ให้ในอนาคต หลักการที่ว่านี้จะอาศัยหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัย ในการคำนวณ เพื่อตั้งสำรองให้เหมาะสม


เงินสำรองทางคณิตศาสตร์ประกันภัย


ขึ้นชื่อว่าเงินสำรองก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นเงินที่กันสำรองเอามาตั้งไว้ก่อน เพื่อจ่ายสำหรับอนาคตข้างหน้า ถ้าสมมติว่าเรารู้ว่าบริษัทจะต้องจ่ายหนี้ก้อนโตมูลค่า 12 ล้านบาทในอีก 1 ปีข้างหน้า เราอาจจะตั้งสำรองเอาไว้เป็นมูลค่า 12 ล้านบาทในวันนี้ โดยถือว่าสำรองที่ตั้งไว้นั้นเป็นหนี้สินมูลค่า 12 ล้านบาททันที เพื่อเอาไว้จ่ายในอนาคตที่จะเกิดขึ้นในอีก 1 ปีข้างหน้า  

บางคนมองว่าจะไปตั้งทำไมตอนนี้ 12 ล้านบาท เราก็ค่อยๆ ทยอยตั้งสำรอง เดือนละ 1 ล้านบาท พอเวลาผ่านไปครบ 12 เดือน บริษัทก็จะมีเงินสำรองครบ 12 ล้านบาท เอาไว้พอจ่ายหนี้ครบจำนวนพอดี ซึ่งใครจะทำแบบนี้ก็ไม่ผิด ขอแค่มีเงินจ่ายหนี้ก้อนโตให้เพียงพอเต็มจำนวนในเวลาที่ต้องจ่ายก็พอ  การค่อยๆ ทยอยตั้งเงินสำรองแบบตัวอย่างหลัง จะเป็นที่นิยมกว่า เพราะถือเป็นการทยอยตั้งค่าใช้จ่ายขึ้น เดือนละ 1 ล้านบาท ไม่ใช่ว่าต้องตั้งทีเดียวทั้งหมด จะทำให้บริษัทเดือดร้อนได้

เงินสำรองจะค่อยๆ โตขึ้น เหมือนน้ำในเขื่อนกักน้ำที่ค่อยๆ กักเก็บน้ำ และเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น ถ้าระยะเวลาเป็นแค่ระยะสั้นๆ แค่ 1 ปี การตั้งสำรองต่างๆ ก็คงจะไม่ยาก แต่ลองคิดตามกันดูครับว่า ถ้าเราเปลี่ยนระยะเวลาจาก 1 ปี ไปเป็นระยะเวลา  12 ปี แล้วจะทำอย่างไร   สมมติตัวอย่างเดิม ที่มีหนี้เป็นจำนวน 12 ล้านบาท แต่ทีนี้เรารู้ว่าจะต้องจ่ายในอีก 12 ปีข้างหน้า เราก็สามารถทำได้เหมือนเดิม คือ ทยอยตั้งเงินสำรองปีละ 1 ล้านบาท และเมื่อครบกำหนด 12 ปี หนี้สินที่บริษัทตั้งสำรองเอาไว้ก็ครบ 12 ล้านบาท เพื่อชำระหนี้ได้พอดี

แต่ในความเป็นจริงแล้ว เงินที่เราทยอยตั้งปีละ 1 ล้านบาท นั้น เราคงไม่ได้เอาไปฝังตุ่มเก็บไว้เฉยๆ จริงไหมครับ ถ้าเรารู้ว่าเงินก้อนแรกที่ทยอยตั้งไว้ 1 ล้านบาท จะเอาไว้จ่ายหนี้ 12 ปี ข้างหน้า เราก็คงจะเอาไปลงทุนอย่างอื่น เช่น พันธบัตร ระยะเวลา 12 ปี เพื่อให้ได้ดอกเบี้ยมาเชยชมระหว่างทาง และเงินก้อนอื่นๆ ที่ทยอยตั้งขึ้นมา ก็จะเอาไปลงทุนตาม

เมื่อได้ดอกเบี้ยระหว่างทางแบบนี้แล้ว ทำให้ในตัวอย่างนี้ เราไม่ต้องตั้งสำรองจ่าย ปีละ 1 ล้านก็ได้ เราอาจตั้งเพียงแค่ส่วนเดียว ในสมมติฐานของการลงทุนที่ได้ดอกเบี้ย ก็สามารถจ่ายหนี้ก้อนโต ในอีก 12 ปีข้างหน้า มูลค่า 12 ล้านบาทได้เช่นกัน

             การตั้งเงินสำรองชดเชยยามเกษียณ

ลองนึกตามกันต่อนะครับ

ถ้าหนี้ก้อนนี้เป็นเงินชดเชยยามเกษียณจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้วจะเป็นอย่างไร เพราะถ้าพนักงานเกิดตายหรือลาออกไปก่อน ก็จะไม่ได้รับเงินก้อนนั้น บริษัทก็ไม่จำเป็นต้องตั้งหนี้สินให้กับคนที่รู้ว่าจะตายหรือลาออกก่อนถึงอายุเกษียณที่กำหนด ซึ่งก็หมายถึงว่าหนี้สินก้อนนั้นของบริษัทได้ถูกยกออกไปเสมือนหนึ่งว่าไม่มีหนี้สินมาก่อนเช่นกัน ถ้าคิดว่าโอกาสที่จะจ่ายหนี้ก้อนนั้นคือ 50% ก็หมายถึงแทนที่จะจ่ายหนี้สินอีก 12 ปีข้างหน้าถึง 12 ล้าน ซึ่งต้องเตรียมไว้จ่ายแค่ 6 ล้าน ก็น่าจะเพียงพอ

หนี้ก้อนที่คิดว่าจะถูกจ่ายออกไป จึงถูกลดทอนด้วย การคำนวณทางคณิตศาสตร์ประกันภัย โดยประมาณไปในอนาคตระยะยาว ทำให้ไม่ต้องตั้งสำรองเต็ม บริษัทจึงสามารถตั้งหนี้สินได้น้อยลงไปเยอะ

ทั้งนี้ กิจการที่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ เช่น บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทมหาชน จะใช้ มาตรฐานการบัญชีไทยฉบับที่ 19 (TAS19) เรื่องผลประโยชน์พนักงาน ที่ใช้หลักคณิตศาสตร์ประกันภัยในการคำนวณดังกล่าว เพื่อตั้งสำรองให้เหมาะสม 


... ถึงจะซับซ้อนแต่ก็มีประโยชน์มากนะครับ ...


อ้างอิง :  หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ 




นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
อาจารย์บรรยายด้านการคำนวณผลประโยชน์พนักงานด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 
อาจารย์ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ Love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงิน
และผู้แต่งหนังสือ 
  •  The Top Job Secret ภาค 1 – อาชีพเงินล้านที่คนไทยยังไม่รู้จัก
  •  The Top Job Secret ภาค 2 - ทำน้อยได้มาก ฉลาดเลือกงาน 
  • ให้เงินทำงาน ภาค 1 - การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินให้ถูกวิธี (Asset Liability Management)
  • ให้เงินทำงาน ภาค 2 - วิเคราะห์ภาษีกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (ตัดสินใจวางแผนการออมเพื่อประโยชน์ทางภาษี)


    Like Share

    บทความอื่น