24 กันยายน 2561
คำถามที่ผมมักจะถูกถามอยู่บ่อยๆ เวลามีคนมาถามเกี่ยวกับเรื่องประกันสังคมคือ
“อาจารย์พอทราบไหมครับว่าเงินที่จ่ายไปทุกเดือนให้กับประกันสังคมนั้น
คุ้มจริงหรือเปล่า”
หรือ “เงินที่จะได้กลับคืนมานั้นเป็นจำนวนเท่าไหร่
อยากให้อาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยครับ”
อย่างแรกที่ทุกคนควรทราบคือ...การจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนนั้น เงินมากกว่าครึ่งที่จ่ายไปก็คือเงินออมของเราที่จะเข้าไปสะสมอยู่ใน กองทุนชราภาพ (หรือหมายถึง กองทุนบำนาญเมื่อยามเกษียณนั่นเอง) ซึ่งเมื่อลองไปวิเคราะห์ดูแล้ว จะเห็นว่าเมื่อเทียบเงินที่จ่ายสมทบกับเงินบำนาญที่จะได้รับคืนนั้นถือว่าคุ้มค่ายิ่งกว่าที่คิด
ความหมายของเงินบำนาญนั้น คือเงินเพื่อการดำรงชีพพื้นฐาน แต่ถามว่าจะคุ้มยังไง ผมจะขอตอบคำถามด้วยการยกตัวอย่างให้ดูครับจะได้เห็นภาพชัดขึ้น
ผู้ประกันตนเริ่มทำงานตั้งแต่อายุ 25 ปี และเกษียณตอนอายุ 60 ปี รวมแล้วทำงานทั้งหมด 35 ปี ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาท แบ่งเงิน 300 บาท สำหรับค่ารักษาพยาบาล อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงาน และเสียชีวิต และอีก 450 บาทเป็นเงินออม (เท่ากับว่าจ่ายต่อปี 450 x 12 = 5,400 บาท)
ใน 1 ปี จ่ายเงินออม = 5,400 บาท ทำงานทั้งชีวิต 35 ปี เท่ากับจ่ายเงินสมทบประมาณ
189,000 บาท (5,400 x 35 =
189,000 บาท)
เมื่ออายุครบ 60 ปี รวมเงินสมทบจากนายจ้าง เงินสมทบจากรัฐบาล และดอกผลแล้ว จะมีเงินในบัญชีประมาณ 800,000 บาท ซึ่งมาจากเงินออมของเราเพียง 189,000 บาทเท่านั้น
ระหว่างจ่ายเงินสมบท เพื่อสะสมเข้ากองทุนชราภาพ (จ่าย 2 แสน) | เงินบำนาญที่จ่ายออกมาจากกองทุนชราภาพ (ได้ 2 ล้าน) |
1. สมทบเดือนละ 750 บาท ซึ่ง 450 บาท ถูกหักออกมาเป็นเงินออมต่อเดือน 2. เงินออมจึงเป็น 5,400 บาท ต่อปี (450 x 12) 3. ออมต่อเนื่องกัน 35 ปี เท่ากับ 189,000 บาท (5,400 x 35) | 1. บำนาญต่อเดือนสำหรับการจ่ายสมทบยาวนานถึง 35 ปี เท่ากับ 7,500 บาท ต่อเดือน 2. เงินบำนาญจึงเป็น 90,000 บาท ต่อปี 3. อยู่รับเงินบำนาญถึง 22 ปี เท่ากับ 1,980,000 บาท (90,000 x 25) |
เปรียบเทียบกันให้เห็นชัดๆ
จากเงินต้นที่จ่ายไม่ถึง 2 แสน แต่มีโอกาสรับบำนาญสะสมรวมกันถึง 2 ล้าน
หลักการที่ทำให้ได้รับเงินบำนาญมากกว่า 2 ล้านนั้น มีอยู่ 2 เงื่อนไข คือ
1. ในช่วงที่จ่ายเงินสมทบ ให้จ่ายให้นานที่สุด เพราะยิ่งจ่ายสมทบได้จำนวนปีที่มากเท่าไร ก็จะทำให้ได้ตัวคูณตอนรับเงินบำนาญในแต่ละเดือนที่มากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ (คล้ายๆโบนัส) มากขึ้นเท่านั้น
จากหลักการข้างต้นนั้น
จะเห็นว่ายิ่งจ่ายเงินสมทบให้นานที่สุด ยิ่งอายุยืนให้นานที่สุด
ก็จะยิ่งคุ้มหลายเท่าตัวดังที่กล่าวมาครับ (อย่างน้อยก็ 10 เท่า เห็นๆ)
จากการคำนวณในตารางมรณะที่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยใช้คำนวณอายุขัยของคนไทย - รู้ไหมครับว่า เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมานี้ คนไทยเราอายุยืนขึ้นมาเกือบ 20
ปี แปลว่า
ถ้าตอนนี้อายุเฉลี่ยของคนไทยเราอยู่ที่ 75 ปี และถ้าเราหมุนเวลาไปข้างหน้าอีก 25
ปีแล้ว ตอนนั้นอายุเฉลี่ยของคนไทยเราคงจะถึง 85 ปี แน่ๆ
อ้างอิง : FINNOMENA