หลักการของการสร้างโมเดลใน IFRS9

7 เมษายน 2563

TFRS9 - รับคำนวณและสร้างแบบจำลอง โดย ABS (อาจารย์ทอมมี่)

รับออกแบบและสร้างแบบจำลอง (Model Creator) รวมถึงสอบทานแบบจำลอง (Model Validator) - กลุ่มที่มีผลกระทบมาก ซึ่งต้องใช้วิธีการทั่วไป (General Approach) หรือ วิธีการด้อยค่าของสินเชื่อเริ่มต้นหรือซื้อมา (Purchased or Originated Credit-Impaired Approach) เท่านั้น ได้แก่
1. สถาบันการเงิน ที่ปล่อยกู้หรือปล่อยสินเชื่อ
2. สถาบันการเงิน ที่ซื้อหนี้สินมาบริหารจัดการต่อ

รับคำนวณและเซ็นรับรอง - กลุ่มที่สามารถใช้วิธีการอย่างง่าย (Simplified Approach) ได้
1. บัญชีลูกหนี้การค้า (Accounts Receivable)
2. สินทรัพย์ทางการเงินที่บริษัทได้ลงทุนไป เช่น พันธบัตร หรือ หุ้นกู้ เป็นต้น


ABS อาจารย์ทอมมี่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการคำนวณสำรองหนี้สูญ (ECL) มีประสบการณ์มากมาย ดังนี้ 
  • รับบรรยายเรื่องแบบจำลองและสูตรการคำนวณของ TFRS9 ให้กับผู้สอบบัญชีและหน่วยงานต่างๆ
  • มีประสบการณ์ในการสร้างแบบจำลองให้กับสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
  • มีประสบการณ์สอบทานแบบจำลอง (Model Validator) ให้กับสถาบันการเงิน ที่อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) หรือ สตง.
  • มีประสบการณ์ในการคำนวณให้กับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
  • มีทีมงานมืออาชีพที่เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบบจำลองและสูตรทางสถิติต่างๆ

"หากต้องการคำปรึกษา สามารถโทรสอบถาม ศุภิชาเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 087-100-7199

หรือ โทรหา อาจารย์ทอมมี่ ที่ 082-899-7979 ได้โดยตรงเช่นกัน"


มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ ที่เรียกกันว่า IFRS9 นั้น มีการปรับปรุงหลักการและวิธีการบัญชีสำหรับเครื่องมือทางการเงิน เพื่อให้สะท้อนความเสี่ยงของกิจการมากยิ่งขึ้น ซึ่งในประเทศไทยจะบังคับใช้ในปี 2563 นี้แล้ว
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และ บริษัทที่มีส่วนได้ส่วนเสียสาธารณะในประเทศไทย (PAEs) ต้องนำ IFRS9 มาใช้ โดยแบ่งเนื้อหาสำคัญออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
1) การจัดประเภทและการวัดมูลค่าของเครื่องมือทางการเงิน เช่น เงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ รวมทั้งเงินลงทุนประเภทต่างๆ
2) กำหนดการรับรู้การด้อยค่าใหม่ของสินทรัพย์ทางการเงิน
3) การบัญชีป้องกันความเสี่ยง

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน, IFRS9, เครื่องมือทางการเงิน, สินทรัพย์ทางการเงิน, ตลาดหลักทรัพย์ฯ, PAEs, ผลประโยชน์พนักงาน, แบบจำลอง, พิเชฐเจียรมณีทวีสิน, ทอมมี่แอคชัวรี, นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า IFRS9 จะมีผลกระทบต่อทุกธุรกิจไม่มากก็น้อย เนื่องจากบริษัทต่างๆ จะมีเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน และก็อาจจะมีลูกหนี้ซึ่งต้องมีการพิจารณาเครดิตของลูกหนี้อยู่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นธุรกิจสถาบันการเงินก็จะยิ่งมีผลกระทบ เพราะสินทรัพย์ส่วนใหญ่ที่ถือไว้ก็จะเป็นการปล่อยสินเชื่อต่าง ๆ ให้กับลูกค้าเข้าไปด้วย

ผลกระทบที่ว่านี้เกิดจากหลักการที่ว่า บริษัทต้องกันเงินสำรองจากการให้กู้ยืมเงินเร็วขึ้น และต้องมีการพิจารณาตั้งประมาณด้อยค่าตั้งแต่วันแรก โดยพิจารณาสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทำสัญญาวันแรกจนกระทั่งสิ้นสุดสัญญา ซึ่งในข้อนี้จะแตกต่างกับหลักการในสมัยก่อนที่ให้กันเงินสำรองเมื่อมีข้อบ่งชี้การด้อยค่าเกิดขึ้น

หลักการที่ว่านี้ก็เลยเปลี่ยนจากการตั้งสำรองที่เป็นลักษณะเหมือนตั้งปีต่อปี (สัญญาระยะสั้น) ไปเป็นการมองไปข้างหน้าจนสิ้นสุดสัญญา (สัญญาระยะยาว) โดยในเหตุการณ์ข้างหน้านั้น จะมีตัวแปรหนึ่งที่ชื่อว่า Probability Default (PD) ซึ่งเรียกกันในภาษาง่าย ๆ ว่า “ความน่าจะเป็นในการที่ลูกค้าจะเบี้ยวหนี้” 

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราสมมติว่าโอกาสที่ลูกค้าจะเบี้ยวหนี้ ในงวดแรกคือ 1% และ ในงวดที่สอง คือ 2% และในงวดที่สาม คือ 3% ซึ่งจำนวณหนี้ที่ลูกค้าจะเบี้ยวคือ 1 แสนบาท 

ในสมัยก่อน เราก็แค่ตั้งสำรองหนี้สูญ (หรือกันเงินสำรอง) คือ 1% คูณด้วย 100,000 บาท ซึ่งเท่ากับ 1,000 บาท และพอเวลาผ่านไปอีกหนึ่งงวด ก็ค่อยมาตั้งสำรองกันใหม่ โดยงวดที่สอง ก็ตั้งที่ 2% คูณด้วย 100,000 บาท ซึ่งเท่ากับ 2,000 บาท และ ถ้าถึงตอนนั้น สภาพหนี้ยังดีอยู่จนอยู่รอดได้ถึงงวดที่สาม การตั้งสำรองในงวดที่สาม จึงค่อยมาตั้งที่ 3% คูณด้วย 100,000 บาท ซึ่งเท่ากับ 3,000 บาท โดยนี่คือหลักการที่เป็นการตั้งสำรองในลักษณะปีต่อปี เรียกได้ว่า สัญญาระยะสั้นที่เมื่อถึงเวลาแล้วก็ค่อยมาตั้ง และมองภาพไปข้างหน้าเพียงงวดเดียว ซึ่งปกติในหนึ่งงวดก็นิยมให้เป็น 1 ปี หรือไม่มากกว่า 12 เดือน เป็นต้น

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน, IFRS9, เครื่องมือทางการเงิน, สินทรัพย์ทางการเงิน, ตลาดหลักทรัพย์ฯ, PAEs, ผลประโยชน์พนักงาน, แบบจำลอง, พิเชฐเจียรมณีทวีสิน, ทอมมี่แอคชัวรี, นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย

ส่วนใน IFRS9 นั้น เวลาจะตั้งสำรองหนี้สูญเพื่อให้รับรู้การด้อยค่าใหม่นั้นจะต้องมองไปข้างหน้าให้ครอบคลุมไปถึงทุกงวดเลย เช่น ในตัวอย่างนี้ ก็จะต้องครอบคลุมไปถึง 3 งวด แต่เวลาเรามองการคำนวณนั้น ให้นึกภาพเหมือนกับที่เราคำนวณผลประโยชน์พนักงาน หรือ คำนวณเงินสำรองกรมธรรม์ประกันชีวิต ที่มองไปข้างหน้าให้ครอบคลุมเงื่อนไขในการจ่ายเสียก่อน แล้วจึงคิดกลับมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน ซึ่งเวลาเราหมุนเวลาไปข้างหน้าในแต่ละปี ก็จะต้องคำนวณหาค่าความน่าจะเป็นในการอยู่รอด (survival factor) เข้าไปด้วย เพราะในการประมาณการไปข้างหน้าในแต่ละครั้ง ถ้าในอนาคตมีงวดไหนที่เป็นหนี้สูญไปแล้ว เราก็ถือว่าสัญญาสิ้นสุดได้เช่นกัน ซึ่งถ้าใครเคยได้เห็นหลักการในการคำนวณผลประโยชน์พนักงานตามมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 19 หรือ การคำนวณเงินสำรองของกรมธรรม์ประกันชีวิตมาก่อนแล้ว จะทราบดีว่าลักษณะในการประมาณการกระแสเงินสดไปข้างหน้าเพื่อตั้งเป็นเงินสำรองนั้นจะทำอย่างไร

ดังนั้น จะเห็นว่า บริษัทจะได้รับผลกระทบทั้งด้านการเงินและผลการดำเนินงาน เพราะต้องตั้งสำรองการด้อยค่าซึ่งอาจจะเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่อาจทำให้ผลกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จของบริษัทลดลง เนื่องจากการที่บริษัทกันสำรองเผื่อการด้อยค่าตั้งแต่วันแรกที่มีการรับรู้การให้เงินกู้ยืม ลงทุน หรือปล่อยเครดิต เป็นต้น ซึ่งต้นทุนเหล่านี้ก็จะสะท้อนความเสี่ยงที่แท้จริงของธุรกิจให้แม่นยำและโปร่งใสขึ้น

เนื่องจากการประมาณการข้างหน้าของ IFRS9 ที่ต้องประเมินไปจนครบกำหนดสัญญาและเกี่ยวข้องกับหลักการนำสถิติมาตั้งสมมติฐานในอนาคตข้างหน้า ในการทำโมเดลหรือแบบจำลองของ IFRS9 นี้ จะสอดคล้องกับแบบจำลองของคณิตศาสตร์ประกันภัย (actuarial model) ที่เกี่ยวข้องกับหลักการ 2 อย่าง คือ Probability (P) และ Financial Mathematics (FM) ซึ่งทั้ง 2 หลักการ เป็นส่วนประกอบหลัก ที่ต้องนำมาใช้สร้างแบบจำลอง IFRS9


แบบจำลองของ IFRS9 ใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ประกันภัย

เหมือนการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน



ดังจะเห็นได้ว่าวารสารและสื่อตีพิมพ์ในต่างประเทศ ได้พูดถึงแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ประกันภัยที่นำไปใช้กับ IFRS9 กันมาก และโมเดลของ IFRS9 ที่ใช้กันในประเทศไทย ส่วนใหญ่ก็มาจากนักคณิตศาตร์ประกันภัยในต่างประเทศที่ออกแบบมาให้ทั้งสิ้น

สรุปว่า การตั้งสำรองของการเสียชีวิต และการตั้งสำรองสำหรับจ่ายผลประโยชน์พนักงานที่อยู่จนถึงเกษียณ ก็ไม่ต่างอะไรกับการตั้งสำรองสำหรับความเสียหาย (จ่ายควักเนื้อ) เวลาที่หนี้สูญไป นั่นเอง แบบจำลองหรือโมเดลต่าง ๆ จึงใช้หลักการเดียวกัน โดยสมมติฐานทางคณิตศาสตร์ประกันภัยจะต้องนำ forward looking view ที่ประมาณการไปข้างหน้าเสมอ ไม่ว่าจะเป็นชีวิตคน ชีวิตพนักงาน หรือแม้แต่ชีวิตของหนี้นั่นเอง 

ขอขอบคุณอ้างอิง : Theactuarymagazine

นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
อาจารย์บรรยายด้านการคำนวณผลประโยชน์พนักงานด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 
อาจารย์ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ Love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงิน
และผู้แต่งหนังสือ 
  •  The Top Job Secret ภาค 1 – อาชีพเงินล้านที่คนไทยยังไม่รู้จัก
  •  The Top Job Secret ภาค 2 - ทำน้อยได้มาก ฉลาดเลือกงาน 
  • ให้เงินทำงาน ภาค 1 - การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินให้ถูกวิธี (Asset Liability Management)
  • ให้เงินทำงาน ภาค 2 - วิเคราะห์ภาษีกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (ตัดสินใจวางแผนการออมเพื่อประโยชน์ทางภาษี)