“ START ให้ SMART หลังเกษียณ ”
|
“เงินไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต แต่ให้คิดถึงอนาคตด้วย ว่าเรามีเงินสำรองเพียงพอหรือไม่”
ดังนั้น การวางแผนการออมตั้งแต่วันนี้จึงเป็นสิ่งสําคัญ รวมทั้งการพิจารณาว่าประเภทหรือช่องทางการลงทุนไหนที่สามารถสร้างผลตอบแทนตามเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้
ลงทุน 5 ประการ
1. ประกันสังคม ถือเป็นสวัสดิการพื้นฐานของภาครัฐ ที่ตั้งเป้าให้ประชาชนได้ออมกันในระยะยาว ซึ่งผลประโยชน์หลักๆ ก็จะมีทั้งประกันสุขภาพ (เบี้ยกินเปล่าในแต่ละปี) และประกันบำนาญ (เริ่มจ่ายเมื่ออายุครบ 55 ปี) โดยประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่จ่ายบำนาญของประกันสังคมที่เริ่มเร็วที่สุดในโลก (บางประเทศเริ่มให้ตอนอายุ 67 ปี) ทำให้เงินคืนที่ได้จากประกันสังคมนั้นมีค่อนข้างมากและคุ้มค่ากับเบี้ยสมทบของประกันสังคมที่ถูกหักไป
2. กองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) โดย Retirement แปลว่า การเกษียณอายุ เป็นกองทุนที่เราจะเลือกลงในส่วนไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น หุ้น พันธบัตร หรือว่าเงินตราสารหนี้ระยะสั้นทั่วไป ลงอย่างไรก็ได้ แต่อย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ต้องศึกษาความเสี่ยงให้ดีๆ ก่อน และการลงในกองทุน RMF นั้นจะต้องลงต่อเนื่องกันทุกปี จนกระทั่งถึงอายุ 55 ปี โดยกองทุนเหล่านี้มีไว้เป็นตัวเลือกและมีความยืดหยุ่นกว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพราะกองทุน RMF นี้ จะอยู่ติดตัวของเราไปเรื่อยๆ ไม่เหมือนกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ผูกติดอยู่กับบริษัทที่เราทำงานอยู่ สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นเวลาย้ายงานไปอยู่บริษัทใหม่จะต้องทำเรื่องเอกสารให้ดี ไม่เช่นนั้นแล้วถ้าจัดการเอกสารไม่ดีก็อาจจะโดนภาษีตีกลับมาโดยไม่รู้ตัว
3. เดินทางมาถึงช่วงปลายปีกันแล้ว ต้องเริ่มนับถอยหลัง “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” (LTF) (Long Term Equity Fund) ที่กำลังจะหมดอายุลงภายในสิ้นปี 2562 ความเคลื่อนไหวครั้งนี้กำลังเป็นประเด็นอย่างมากในกลุ่มนักลงทุน แต่ส่วนใหญ่ก็สามารถเบาใจกันมากขึ้น เพราะจะมีกองทุนใหม่ที่จะมาแทนที่เพื่อลดหย่อนภาษี เนื่องจากสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยว่ากองทุนที่จะมาแทนที่ LTF คือ SEF หรือ กองทุนหุ้นยั่งยืนเป็นกองทุนใหม่ (SEF) ถูกคิดมาเพื่อแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำ ให้ผู้ที่มีรายได้น้อยสามารถใช้สิทธิซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น เท่ากับว่าจะสามารถลดหย่อนภาษีได้มากกว่าเดิม
4. ถ้าสวัสดิการทางภาครัฐสนับสนุนไม่พอ ก็จะต้องมองของทางภาคเอกชน นั้นก็คือ ประกันชีวิตและประกันบำนาญ.
5. เมื่อพื้นฐานการวางแผนการออมยามเกษียณมั่นคงแล้ว ก็เริ่มมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งกัน โดยเพิ่มเติมความรู้ในด้านของการเงิน การอ่านทำให้คนเติบโต และทำให้เราตามโลกได้ทัน สามารถเลือกลงหุ้นในพันธบัตร หุ้น หรืออสังหาริมทรัพย์ได้
ใน 5 สิ่งนี้ มนุษย์เงินเดือนขาดสิ่งไหน มากที่สุด
อย่างแรก คือคนเราไม่ค่อยจะอ่านหนังสือกันเท่าไหร่ แต่ในช่วงหลังๆมานี้ ในทางสื่อต่างๆ Youtube , TV Online พวกนี้ มีคนมาสอนความรู้ทางด้านการเงินมากมาย ความรู้จึงสำคัญที่สุด เพราะในสมัยก่อนความรู้เขาจะหวงกัน แต่ในปัจจุบันมีการแบ่งปันกัน เราสามารถหาความรู้ได้ง่ายและหลากหลายช่องทาง
อย่างที่ 2 คือความเข้าใจ ความเข้าใจในที่นี้คือ ความเข้าใจของกฎเกณฑ์ ของประกันสังคม หรือ RMF กับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น ทั้ง 2 อย่างนี้ บางคนยังไม่เข้าใจในกฎเกณฑ์ว่ามันคืออะไร มันดีอย่างไรบ้าง หลังๆ มานี้ ทางสื่อก็พยายามประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจมากขึ้น เพราะว่าเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานของคนเรา
ประกันชีวิต กับ ประกันบำนาญ
สมัยก่อนเราจะได้ยินเกี่ยวกับตัวแทนประกันชีวิต หรือ ผู้เชี่ยวชาญที่จะอธิบายให้เข้าใจ แต่ ณ วันนี้ก็จะมีผ่านทางแบงค์หรือการซื้อตรงได้เช่นเดียวกัน หลายๆอย่างมีทั้ง social media สามารถให้ศึกษากันได้ว่า จริงๆแล้วประกันชีวิตมีกี่แบบ มันดีอะไรบ้าง ควรซื้อเพราะต้องการจริงๆ ไม่ใช่ซื้อเพราะเกรงใจ
เพราะฉะนั้นข้อสรุปแล้วทั้งความรู้ หรือว่าเรื่องกองทุนสวัสดิการของภาครัฐที่เขาสนับสนุน หรือว่าให้มีการจัดตั้งขึ้นมา เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือประกันสังคม เป็นต้น แล้วจะลงมาที่ LTF ที่เป็นหุ้น และมาเป็น RMF ที่ลงทุนอย่างไรก็ได้ แต่จะต้องลงต่อเนื่องทุกๆปี จนกระทั่งถึงอายุ 55 ปี และมาที่ตัวสุดท้ายคือของทางภาคเอกชน ที่เป็นประกันชีวิตหรือประกันบำนาญ
และนี้คือ 5 สิ่ง ที่เราจะต้องลงทุนในปี 2563
START ให้ SMART
นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
อาจารย์บรรยายด้านการคำนวณผลประโยชน์พนักงานด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย
อาจารย์ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ Love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงิน
และผู้แต่งหนังสือ
- The Top Job Secret ภาค 1 – อาชีพเงินล้านที่คนไทยยังไม่รู้จัก
- The Top Job Secret ภาค 2 - ทำน้อยได้มาก ฉลาดเลือกงาน
- ให้เงินทำงาน ภาค 1 - การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินให้ถูกวิธี (Asset Liability Management)
- ให้เงินทำงาน ภาค 2 - วิเคราะห์ภาษีกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (ตัดสินใจวางแผนการออมเพื่อประโยชน์ทางภาษี)
Like
Share