แบงก์จ่อขาย “ลูกหนี้-เอ็นพีเอ” เลี่ยงภาระกันสำรองตาม IFRS9 รอเครดิตบูโรไฟเขียวไม่ต้องรายงาน “NCB”
กรณีปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันและไม่มีส่วนสูญเสีย แหยงเกณฑ์กันสำรอง - จัดชั้นตาม IFRS9 หลังธปท. ส่งสัญญาณเปิดช่องให้พัก - ยืดหนี้ก่อนเป็นเอ็นพีแอล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกหนังสือเวียนเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2562 เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งสถาบันการเงินจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 (IFRS9) ที่จะเริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม 2563 โดยยืดหยุ่นให้สถาบันการเงินสามารถผ่อนปรนการปรับโครงสร้างหนี้ โดยไม่ต้องจัดชั้นหนี้และอนุมัติสินเชื่อใหม่ภายใต้เงื่อนไขเพื่อให้ธุรกิจดำเนินธุรกิจต่อไปนั้น
แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินกล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลความคืบหน้าจากธปท. ซึ่งคาดว่าจะสรุปผลเป็นแนวปฏิบัติในเร็วๆ นี้ หลังจากที่ผ่านมาธปท.ได้เปิดรับฟังความเห็นจากสถาบันการเงินในระบบ โดยลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และไม่มีส่วนสูญเสียนั้นไม่ถือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทำให้สถาบันการเงินไม่ต้องรายงานบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เอ็นซีบี) หรือ เครดิตบูโร เพราะธปท.ตั้งใจจะให้ลูกหนี้ดังกล่าวสามารถเข้าถึงสินเชื่อส่วนเพิ่มได้ จึงพยายามไม่ให้ลูกหนี้มีตำหนิในเอ็นซีบี “ตอนนี้ต้องรอเครดิตบูโร ประกาศแนวปฏิบัติที่ชัดเจนอีกครั้ง เพราะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ผ่านมา ทุกแบงก์ต้องรายงานเครดิตบูโร เพื่อบันทึกในระบบจนกว่าลูกหนี้จะผ่อนชำระหนี้ครบ ซึ่งเป็นเกณฑ์หรือกติกาที่ทำกันมาก่อนหน้าแล้ว แต่ตอนนี้จะเปลี่ยนเงื่อนไขว่า รายที่ทำไปก่อนหน้าไม่ถือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และทุกแบงก์ต้องแจ้งย้อนหลัง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้เลย จึงเป็นประเด็นที่จะต้องคุยกันเพื่อกำหนดนโยบายหรือเงื่อนไขการกันสำรองตาม IFRS9
ขณะที่ลูกหนี้ใน Stage2 เป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระและหนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้หรือไม่ได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไข แต่เป็นลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ
นายชัยยุทธ อังศุวิทยา คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการทำบัญชีกล่าวว่า การเริ่มใช้บังคับมาตรฐานรายงาน IFRS9 ในปี 2563 นั้น ในหมวดการประเมินกันสำรองหนี้สูญ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 เรื่องของ IFRS9 โดย
1.การจัดประเภทและการวัดมูลค่าของเครื่องมือทางการเงิน
2.การรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงินหรือการกันสำรองเพื่อรองรับผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกหนี้ตลอดอายุของลูกหนี้
3.การบัญชีป้องกันความเสี่ยง
ทั้งนี้ หากบังคับใช้จริงคงจะมีประเด็นมากระหว่างผู้ประกอบการกับผู้สอบบัญชี ซึ่งผู้ประกอบการมุ่งเน้นการทำเปอร์เซ็นต์น้อย เพื่อกันสำรองในระดับตํ่า ดังนั้นในทางปฏิบัติทางสภาวิชาชีพฯ จะออกเกณฑ์เป็นกรอบในการปฎิบัติให้ชัดเจน โดยเฉพาะผู้ประกอบการกลุ่มเช่าซื้อ ลีสซิ่ง หรือธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก ซึ่งเป็นสินเชื่อที่จะต้องตั้งสำรองหนี้สูญ ซึ่งหลักการใหม่ต้องจัดอายุ กำหนดหนี้เป็นอัตราเปอร์เซ็นต์ ซึ่งยังหาคำตอบไม่ได้ จากอดีตการยืดหนี้เป็นปกติ
นอกจากนี้ กรณีการรับซื้อหนี้เสีย ภายใต้ IFRS9 ถือเป็นลูกหนี้หรือเป็นทรัพย์สิน แนวทางปฏิบัติต้องเข้ากระบวนการเดียวกับการคำนวณหนี้สงสัยจะสูญ เพราะเป็นลูกหนี้ที่รับซื้อมาเพื่อเก็บหนี้มีกำไร ซึ่งสมัยก่อนไม่ต้องกันสำรองหนี้สูญเพราะเป็นหนี้เสียแล้ว แต่ภายใต้มาตรฐานรายงาน IFRS9 ต้องประเมินว่า โอกาสจะสูญเสียเท่าไรตลอดอายุสัญญา เช่น เดิมเป็นลูกหนี้เอ็นพีแอล ซึ่งค้างชำระ 90 วันหรือ Stage3 เมื่อรับซื้อหนี้ดังกล่าวกลับมา ลูกหนี้ต้องอยู่ในฐานะเดิมและต้องกำหนดกันสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตลอดอายุสัญญาว่า จะมีความเสียหายเท่าไหร่หรือระดับไหน แต่เมื่อถึงเวลาขายลูกหนี้ออกไป จึงจะปลดกันสำรองฯ ได้
ขณะที่แหล่งข่าวอีกรายระบุว่า ในส่วนของสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) ก็ยังเป็นประเด็นกันว่า ธนาคารที่ประมูลซื้อเอ็นพีเอมาเป็นสินทรัพย์ของธนาคารแม้ธปท.กำหนดกฎเกณฑ์การถือครอง 10 ปี โดยถือครองเอ็นพีเอ 5 ปีและผ่อนผันอีก 5 ปี แต่ภายใต้มาตรฐานบัญชี IFRS9 ธนาคารจะต้องกันสำรองการด้อยค่าลงของเอ็นพีเอจนกว่าจะขายออกไป ดังนั้น หากธนาคารต้องกันสำรองฯ ในที่สุดเชื่อว่าธนาคารจะต้องขายออกด้วย
ขอขอบคุณอ้างอิง :
FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons)
นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
อาจารย์บรรยายด้านการคำนวณผลประโยชน์พนักงานด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย
อาจารย์ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ Love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงิน
- The Top Job Secret ภาค 1 – อาชีพเงินล้านที่คนไทยยังไม่รู้จัก
- The Top Job Secret ภาค 2 - ทำน้อยได้มาก ฉลาดเลือกงาน
- ให้เงินทำงาน ภาค 1 - การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินให้ถูกวิธี (Asset Liability Management)
- ให้เงินทำงาน ภาค 2 - วิเคราะห์ภาษีกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (ตัดสินใจวางแผนการออมเพื่อประโยชน์ทางภาษี)
Like
Share