หลักการทางบัญชีตาม IFRS for NPAEs เปรียบเทียบกับหลักการทางภาษีตามประมวลรัษฎากร

19 กันยายน 2562

สภาวิชาชีพบัญชี ประกาศมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (IFRS for NPAEs) ให้กิจการถือปฏิบัติตั้งแต่ปี 2554 โดยยังไม่ได้รวบรวมข้อมูลความแตกต่างในทางปฏิบัติของหลักการ TFRS for NPAEs กับหลักภาษีอากร

สรุปหลักการทางบัญชีตาม IFRS for NPAEs เปรียบเทียบกับหลักการทางภาษีตามประมวลรัษฎากร นี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลช่วยผู้ทำบัญชีของกิจการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม..







ข่าวสารเพิ่มเติม : รัฐวิสาหกิจทำงาน 20 ปี รับ 400 วัน มีผลตั้งแต่ 27 กันยายน 2562



หม่อมเต่า เผยประกาศมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ปรับเพิ่มเงินค่าตอบแทน ค่าชดเชยลูกจ้างรัฐวิสาหกิจทำงาน 20 ปีขึ้นไป ให้ได้รับเงิน 400 วัน เริ่มบังคับ 27 กันยายน 2562

ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 4) ได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2562 เป็นต้นไป ซึ่งสาระสำคัญของประกาศดังกล่าวได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 โดยปรับเพิ่มอัตราค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่ถูกเลิกจ้าง ซึ่งขยายสิทธิให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกัน  ครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ให้ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายของการทำงาน 300 วัน และลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชย 400 วัน

รวมทั้ง เพิ่มค่าตอบแทนความชอบในการทำงานของลูกจ้างที่มีอายุงาน  20 ปี ขึ้นไป และพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุตามข้อบังคับ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง ให้ได้รับค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายของการทำงาน 400 วัน ซึ่งสิทธิการได้เงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานนี้ จะมีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่จะเกษียณอายุในวันที่ 30 กันยายน 2562 นี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของลูกจ้างที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่องค์กรมาเป็นระยะเวลายาวนาน 

นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานย้ำว่า เพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างในภาคส่วนรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องได้รับรู้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง เบื้องต้นได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเร่งสร้างความเข้าใจ พร้อมทั้งให้ข้อมูลทั้งในส่วนของหลักการ เหตุผล และแนวทางปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องภายใต้ความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

หากนายจ้างและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โทร. 0 2245 9559 หรือสายด่วน 1506 กด 3



Like Share

บทความอื่น