17 กรกฎาคม 2562
เมื่อพูดถึง มาตรฐานบัญชีฉบับที่ 19 (TAS 19) นั้น นักบัญชีหรือผู้สอบบัญชีย่อมจะอ่านผ่านคำว่า "คณิตศาสตร์ประกันภัย" บ่อย ๆ เป็นแน่ ซึ่งตัวมาตรฐานนั้นได้กล่าวถึงทั้งหลักการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยอย่าง วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ (Projected Unit Credit Method) ไปจนถึง "นักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary)" ซึ่งผู้อ่านเคยสงสัยไหมว่า คณิตศาสตร์ประกันภัยนั้นมามีส่วนเกี่ยวข้องกับมาตรฐานบัญชีได้อย่างไร?
ถ้าจะให้อธิบายอย่างง่ายนั้น คณิตศาสตร์ประกันภัยคือการนำสถิติความน่าจะเป็น (Probability) และคณิตศาสตร์การเงิน (Financial Mathematic) มาผสมผสานเพื่อสร้างแบบจำลองประมาณการกระแสเงินสดในอนาคต และ ภาระผูกพันที่ต้องตั้งในปัจจุบัน โดยถ้าจะมองในมุมมองนักบัญชีนั้น นักบัญชีคนไหน ๆ ก็ต้องเข้าใจหลักการคณิตศาสตร์การเงิน ส่วนความน่าจะเป็นนั้นก็แค่เอาตัวแปรสักตัวมาคูณ หากแต่ในทางคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้นความน่าจะเป็นจะถูกแตกออกเป็นปัจจัยย่อย ๆ หลาย ๆ ปัจจัย และ ต้องสามารถอธิบายได้ในการเลือกใช้สมมติฐานไม่ว่าจะเป็น อัตราหมุนเวียน อัตรามรณะ หรือ อัตราทุพพลภาพ เป็นต้น จึงได้ผลการประมาณการที่ละเอียดกว่าจึงจะถือได้ว่าเป็นการประมาณการที่ดีที่สุด
หากจะเปรียบให้เห็นภาพอย่างง่ายก็คงเปรียบได้กับการดูหนังหรืออ่านวรรณกรรมชื่อดังอย่าง Harry Potter หรือ Lord of the Ring ที่การอ่านจากหนังสือย่อมให้รายละเอียดที่ครบเครื่องกว่าและสามารถแสดงคุณค่าของตัววรรณกรรมออกมาได้อย่างเต็มที่ ก็เปรียบได้กับการประมาณการโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่สามารถแสดงธรรมชาติของภาระผูกพันได้ครบถ้วนกว่า
กิจการที่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ (PAE) จึงควรใช้การประมาณการโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยเพื่อที่จะได้เปิดเผยข้อมูลลักษณะธรรมชาติของภาระผูกพันอย่างละเอียดต่อผู้มีส่วนได้เสีย
กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAE) อาจมองว่าการจ้างนักคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้นจะต้องใช้ต้นทุนสูง แต่ในปัจจุบัน อาจารย์ทอมมี่ได้นำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (Automation) มาผสมผสานกับระบบออนไลน์ (online) เพื่อลดต้นทุน และ ส่งเสริมให้กิจการเข้าถึง การคำนวณตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย มากขึ้น