เช็คกฎหมายแรงงานที่กำลังมากับ "ผลประโยชน์ของพนักงาน"

20 ธันวาคม 2561

เช็ค "กฎหมายแรงงาน" ที่กำลังมากับ "ผลประโยชน์ของพนักงาน"

ในช่วงที่ใกล้วันแรงงานแห่งชาติ รัฐบาลกำลังผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานออกมาหลายฉบับ หนึ่งในกฎหมายแรงงานหลายฉบับ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7 ซึ่งกำหนดค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณีนายจ้างเลิกจ้างสำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปี ขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน ซึ่งปัจจุบันกฎหมายแรงงานฉบับนี้มีสถานะอยู่ในระหว่างการนำเสนอการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

โดยประเด็นคำถามที่ถามกันเข้ามาคือ กฎหมายแรงงานที่กำลังมามีผลกระทบต่อผลประโยชน์พนักงานอย่างไร ?

ฝ่ายมาตรฐานการบัญชีของเรียนว่า...

 “กฎหมายแรงงานฉบับดังกล่าวเป็นกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้างในการได้รับค่าชดเชยในกรณีนายจ้างเลิกจ้างซึ่งถือเป็นผลประโยชน์พนักงานชนิดหนึ่ง ดังนั้น หากกฎหมายดังกล่าวประกาศใช้ถือว่ามีการแก้ไขโครงการผลประโยชน์พนักงาน ซึ่งตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่องผลประโยชน์ของพนักงาน ย่อหน้าที่ 103 บริษัทต้องรับรู้ต้นทุนบริการในอดีตเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อมีการแก้ไขโครงการ ดังนั้น บริษัทต้องรับรู้เป็นหนึ้สินในวันที่กฎหมายประกาศใช้และหากกฎหมายมีการประกาศใช้ภายหลังรอบระยะเวลารายงานแต่ก่อนวันที่อนุมัติงบการเงิน และ ผลกระทบดังกล่าวมีจำนวนเงินเป็นสาระสำคัญต่องบการเงินบริษัทต้องเปิดเผยผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานที่ไม่ต้องปรับปรุง”


ฝ่ายมาตรฐานการบัญชี หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความฉบับนี้จะทำให้สมาชิกมีความเตรียมพร้อมสำหรับกฎหมายแรงงานที่กำลังมา แล้วขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าขณะนี้ กฎหมายแรงงานฉบับนี้มีสถานะอยู่ในระหว่างการนำเสนอการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังนั้นบริษัทควรพิจารณาผลกระทบของกฎหมายแรงงานใหม่ดังกล่าวที่มีต่อมูลค่า ประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงาน เมื่อกฎหมายประกาศใช้ ว่าบริษัทต้องมีประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานเพิ่มขึ้นเท่าใด ทั้งนี้ ฝ่ายมาตรฐานการบัญชีขอขอบคุณในความร่วมมือมา ณ โอกาสนี้ด้วย



Issue 66 / June 2018 / หน้า 7