การบันทึกบัญชี “จากกฎหมาย 300 วันเป็น 400 วัน”

18 กรกฎาคม 2562


การบันทึกบัญชี “จากกฎหมาย 300 วันเป็น 400 วัน”


เนื่องจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา สาระสำคัญคือการเพิ่มค่าชดเชยของลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปี ให้มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน หรือ 13.3 เดือน (จากกฎหมายฉบับเดิมที่ได้รับค่าชดเชย 300 วัน หรือ 10 เดือน) โดยผลการพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2562 มีมติเห็นว่า

1. กรณีเป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือ กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่ถือปฎิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน (“กิจการ”) ย่อหน้าที่ 103.1 ระบุว่า กิจการต้องรับรู้ต้นทุนบริการในอดีตเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อมีการแก้ไขโครงการ ดังนั้นกิจการจะรับรู้ต้นทุนบริการในอดีตเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในกำไรหรือขาดทุนในปี 2561 หรือปี 2562 ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลยพินิจของกิจการในการพิจารณาว่าการแก้ไขโครงการเกิดขึ้นในปีใด
2. กรณีเป็นกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) ให้กิจการตั้งประมาณการหนี้สินตามดุลยพินิจของฝ่ายบริหารในงวดที่เกิดภาระผูกพันขึ้น (ตามหลักการรับรู้รายการในย่อหน้าที่ 304 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ) โดยบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในกำไรหรือขาดทุน

ตามข้อความข้างต้น จะสังเกตเห็นว่า การจะรับรู้ร่างกฎหมายใหม่นี้ ลงบัญชีในปีใด ก็ขึ้นกับดุลยพินิจของบริษัทว่าการแก้ไขโครงการเกิดขึ้นในปีใดสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือ กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือขึ้นกับดุลยพินิจของฝ่ายบริหารในงวดที่เกิดภาระผูกพันขึ้นสำหรับกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ 

อย่างไรก็ตาม ถ้าบริษัทต้องการไปรับรู้ในปี 2562 แล้ว นั่นก็หมายความว่าในปี 2561 จะยังไม่มีการรับรู้แต่ควรให้เปิดเผยตัวเลขผลกระทบในหมายเหตุประกอบงบว่าจะเป็นเท่าไรแทน และเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้จริงในปี 2562 จึงค่อยเปลี่ยนคำนวณรับรู้ตัวเลขการคำนวณแบบ 400 วันแทน

ปัญหาอยู่ที่ว่า ถ้าต้องคำนวณ 400 วัน พร้อมกันใหม่ทั้งหมดในวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ ก็คงจะทำไม่ทันกันพอดี ดังนั้น บทความนี้จึงเสนอวิธีการเตรียมพร้อมการลงบัญชีตามกฎหมายใหม่ 400 วันที่มีความแม่นยำถูกต้อง และยังสามารถคำนวณเผื่อไว้ล่วงหน้าได้

โดยหากจะต้องมีการปรับปรุงงบการเงินสำหรับ “การบันทึกบัญชี จาก 300 วันเป็น 400 วัน” นั้น ทาง ABS ขออธิบายง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจโดยแผนภาพดังนี้



จากแผนภาพดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ถ้าในอดีตบริษัทมีการคำนวณผลประโยชน์พนักงานแบบ 300 วันมาก่อนแล้ว หากเมื่อมีการประกาศบังคับใช้กฎหมายในไตรมาสใด บริษัทจะต้องปรับการบันทึกบัญชีจากตัวเลขเดิมของ 300 วัน ไปเป็นตัวเลขที่ได้จากการคำนวณใหม่แบบ 400 วันทันทีในไตรมาสนั้นที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ ซึ่งทาง ABS มองว่า คงเป็นไตรมาส 1 หรือไม่ก็ไตรมาส 2 ของปี 2562 นี้ 

ในทางปฏิบัติ เราก็จะคำนวณภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานแบบ 400 วันไว้ล่วงหน้า โดยจะเลือกวันประเมินเดียวกันกับที่เคยประเมินแบบ 300 วัน เนื่องจากเวลาประเมินไปข้างหน้า จะได้นำตัวเลขในหมายเหตุประกอบงบ ณ วันที่ปิดงบในแต่ละปีข้างหน้ามาใช้ได้ด้วย 

และในวันที่ประกาศกฎหมาย 400 วันมีผลบังคับใช้ บริษัทก็สามารถผูกการคำนวณจากเล่มรายงานแบบ 300 วัน ให้กลายเป็นแบบ 400 วันได้ไม่ยาก ดังแผนภาพ ที่เปรียบเหมือนถนน 2 เส้น และเปลี่ยนเลนส์กลางทาง (เช่น ที่ไตรมาส 1 หรือ ไตรมาส 2 เป็นต้น)




แต่หากไม่ทราบว่าจะต้องบันทึกบัญชีในเวลานั้นอย่างไร ก็สามารถดูได้จาก ABS Worksheet 300&400 ซึ่งจะอธิบายถึงการผูกตัวเลขของกฎหมายทั้ง 2 แบบ เข้าด้วยกัน ดังภาพ ซึ่งการจะใช้ Worksheet นี้ได้ จำเป็นจะต้องมีผลการคำนวณตามกฎหมาย 300 และ 400 วันเสียก่อน


        โดยจากภาพดังกล่าว มีขั้นตอนการบันทึกดังนี้
1. กรอกตัวเลขตามรายงาน 300 วัน



2. กรอกตัวเลขตามรายงาน 400 วัน


3. เลือกไตรมาส (เมื่อใส่ตัวเลข จะเห็นคำอธิบาย)



4. ตัวเลขจะผูกจาก 1 และ 2 โดยอัตโนมัติ และนำตัวเลขในข้อ 4 ไปบันทึกบัญชี




สามารถดาวน์โหลด ไฟล์ “ABS Worksheet 300&400” ได้ที่ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด สำหรับใครที่ดาวน์โหลด Worksheet ไปแล้ว แต่ไม่ทราบว่าจะใช้ Worksheet หรือกรอกข้อมูลพนักงานอย่างไร สามารถกดดูวีดีโอสอนการใช้ และคำนวณในคลิปด้านล่างนี้ได้ครับ

วีดีโอนี้จะอธิบายถึงหลักการและผลกระทบของภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานที่มีต่อกฎหมายแรงงาน 400 วัน
เพื่อให้ทุกท่านสามารถวิเคราะห์ที่มาที่ไปถึงผลกระทบได้  






หรือติดต่อทีมงานเพื่ออธิบายวิธีการผูกเล่มรายงาน 300 วัน เข้ากับ 400 วัน ได้ที่ บริษัท แอคชัวเรียล บิสซิเนส โซลูชั่น จำกัด 


นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
อาจารย์บรรยายด้านการคำนวณผลประโยชน์พนักงานด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 
อาจารย์ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ Love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงิน
และผู้แต่งหนังสือ 
The Top Job Secret ภาค 1 – อาชีพเงินล้านที่คนไทยยังไม่รู้จัก
The Top Job Secret ภาค 2 - ทำน้อยได้มาก ฉลาดเลือกงาน 
ให้เงินทำงาน ภาค 1 - การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินให้ถูกวิธี (Asset Liability Management)
ให้เงินทำงาน ภาค 2 - วิเคราะห์ภาษีกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (ตัดสินใจวางแผนการออมเพื่อประโยชน์ทางภาษี)


บทความที่เกี่ยวข้อง