ตรรกะ กับ ความรัก ของมุมมองนักคณิตศาสตร์ประกันภัย

11 มิถุนายน 2562

ตรรกะ กับ ความรัก ของมุมมองนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
ความรัก กับ ตัวเลข.... 
เปิดชีวิตนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
กับอาจารย์ทอมมี่ - พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน




“ผมบอกได้เลยว่า คุณจะไม่มีแฟน ถ้าคุณใช้ตรรกะกับความรักตลอดทุกครั้ง”
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์พิเศษ เปิดชีวิตของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย กับอาจารย์ทอมมี่ พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน ที่นอกเหนือจากการทำงานกับตัวเลขและการคาดคะเนอนาคต วันนี้เราจะมาติดตามกับเรื่องราวที่สะท้อนมุมมองเรื่องความรักกับตรรกะ ในภาพยนตร์เรื่อง “รัก 2 ปี ยินดีคืนเงิน Love battle”

ความรัก เป็นเรื่องการเดินทางของคน 2 คน ในระหว่างทางจะเลือกเดินทางไปในทิศทางใด เพราะตัวแปรเรื่องความรักนั้นมีอยู่มาก ถ้าในอนาคตมีหุ่นยนต์หรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถแยกได้ว่าความรักรูปแบบนี้เป็นอย่างไร ก็จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าโอกาสที่คนเราจะรักกันหรือไม่รักกันมีความเป็นได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งมีการอ้างอิงโปรแกรมดังกล่าวในภาพยนตร์ “รัก 2 ปี ยินดีคืนเงิน Love battle” ตัวแปรเหล่านี้สามารถเอาไปใช้ได้ แต่การที่ใช้เหตุผลอย่างเดียว มันจะเป็นความรักที่ไม่ยั่งยืน 

คิดเห็นอย่างไรกับการที่ใช้ตรรกะกับความรักในการนำชีวิต
มองว่าความรัก เป็นการที่เราใช้สมองและหัวใจไปด้วยกัน หากใช้ใจอย่างเดียวก็เป็นเรื่องที่ไม่ยั่งยืน เพราะใช้ใจอย่างเดียวจะไม่มีเหตุผลมารองรับ ซึ่งมองว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ จะสอนเราอย่างดีว่าจะทำอย่างไรให้การใช้สมองควบคู่กับการใช้ใจ มีตัวอย่างความรักหลากหลายรูปแบบอยู่ในภาพยนตร์ให้ติดตามกัน 

ความรักไม่ใช่ตัวเลข 
เรื่องความรักบางทีการใช้เหตุผลอย่างเดียวก็ไม่ดีเท่าไหร่ เช่น เคยมีเพื่อนคนหนึ่งเวลาที่เค้าจะคบใคร จะมีการให้คะแนนคนที่เค้าต้องการจะจีบ เช่น ความสวย ฐานะ การศึกษา หรือแม้แต่สถานที่ที่นัดพบว่าใกล้หรือไกล สมมติเลือกมา 3-4 คนแล้วก็ให้น้ำหนักว่าใครได้คะแนนมากที่สุดก็เลือกคนนั้น แบบนี้จะสัมผัสกับความรักได้จริงหรือเปล่า เพราะไม่ได้ใช้ใจเลย หรือการคิดทุกอย่างเป็นตัวเลขรวมไปถึงการตัดสินใจ การคิดมากไปก็ทำให้ทุกอย่างพังเช่นกัน ในชีวิตประจำวันถ้าใช้เกี่ยวกับงานในโลกของธุรกิจ ส่วนใหญ่จะใช้ตัวเลขตัดสินใจ 100% แต่ถ้าใช้กับชีวิตส่วนตัวก็อาจมีตัวเลขมาตัดสนใจไว้ก่อน แต่ถ้าบางอย่างนั้นดีต่อใจ ก็ต้องใช้ความรู้สึกควบคู่กันไปด้วย 

แก้ปัญหารอลิฟต์นาน ผ่านมุมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
มีคนบ่นว่าลิฟต์ที่ใช้ขึ้นลงในช่วงตอนกลางวันช้ามาก ไม่พอกับความต้องการอาจมีเรื่องร้องเรียน ผู้บริหารต้องเข้ามาดูว่ามันควรจะต้องทำอย่างไรกับลิฟต์ ต้องซื้อลิฟต์เพิ่มหรือเปลี่ยนระบบให้มันเร็วขึ้น ก่อนอื่นเราต้องมานั่งดูข้อมูลก่อนและจับโจทย์ของปัญหาได้ว่า “พนักงานรู้สึกว่าลิฟต์มันช้า” ทีนี้เรามีคำว่าความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง เราจึงต้องเจาะลึกเข้ามาอีกว่าพนักงานผู้ชายหรือผู้หญิงที่บ่นเรื่องลิฟต์มากกว่ากัน จนได้บทสรุปว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่บ่นเรื่องลิฟต์ เราทำอะไรให้เค้าฆ่าเวลาระหว่างรอลิฟต์ได้บ้างไหม เราจึงเลือกแก้ปัญหาด้วยทางออกที่เสียเงินน้อยที่สุด คือติดกระจกหน้าลิฟต์ในแต่ละชั้น สุดท้ายปัญหาเรื่องร้องเรียนลดลงกว่าครึ่ง 

ขอบคุณที่มาจาก : Workpoint New 


นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
อาจารย์บรรยายด้านการคำนวณผลประโยชน์พนักงานด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 
อาจารย์ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ Love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงิน
และผู้แต่งหนังสือ 
  •  The Top Job Secret ภาค 1 – อาชีพเงินล้านที่คนไทยยังไม่รู้จัก
  •  The Top Job Secret ภาค 2 - ทำน้อยได้มาก ฉลาดเลือกงาน 
  • ให้เงินทำงาน ภาค 1 - การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินให้ถูกวิธี (Asset Liability Management)
  • ให้เงินทำงาน ภาค 2 - วิเคราะห์ภาษีกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (ตัดสินใจวางแผนการออมเพื่อประโยชน์ทางภาษี)