" 7 เหตุผล ของการเลือกซื้อประกันบำนาญ "
1. พันธบัตรดอกเบี้ยสูงๆ ในสมัยก่อนที่บริษัทประกันเคยเก็บสะสมเอาไว้จะเริ่มหมดไป ส่วนดอกเบี้ยจากพันธบัตรรัฐบาลตอนนี้ตกลงมาต่ำกว่า 2% แล้ว ทำให้คาดเดาได้ว่าในอนาคตจะต้องมีการเพิ่มเบี้ยประกันสูงขึ้นอย่างน้อย 10% – 20% อย่างแน่นอน โดยเฉพาะในยุคดอกเบี้ยต่ำแบบนี้ เบี้ยประกันที่ได้รับเข้ามา จะไม่สามารถนำไปลงทุนงอกเงยอะไรได้เป็นชิ้นเป็นอัน ทำให้ต้องเก็บเบี้ยประกันในแต่ละปีที่สูงขึ้น
2. เปลี่ยนเงินก้อนจาก Active income ในวันนี้ ให้กลายเป็น Passive income ในอนาคต ด้วยผลตอบแทนที่การันตี (ปัจจุบัน ประกันบำนาญทุกประเทศเป็นแบบที่การันตีผลประโยชน์เงินคืนอยู่) ซึ่งก็เหมือนกับพันธบัตร แต่สิ่งที่ประกันบำนาญทำได้มากกว่านั้นก็คือการล็อคอัตราผลตอบแทนในตอนที่ซื้อประกันบำนาญ ไปจนถึงอายุ 80 - 90 ปี ซึ่งไม่มีพันธบัตรไหนในประเทศไทยที่ยาวถึงขนาดนี้ จะมีก็แต่ประกันบำนาญเท่านั้น
3. ซื้อไปแล้วจะถอนเงินคืนออกมาเมื่อไรก็ได้ (เช็คสิทธิ์ลดหย่อนภาษีให้ดีก่อน) หรือจะใช้สิทธิ์เงินกู้ตามกรมกรรม์ก็ได้ ซึ่งมีสภาพคล่องที่ได้เปรียบกว่า RMF หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ต้องรอจนถึงอายุ 55 ปี
4. ถ้าเราออมเงินใน เงินฝากประจำ พันธบัตร หุ้นกู้ หรือพวกตราสารหนี้ต่างๆ ที่ให้ดอกเบี้ยการันตีแล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ได้รับมา จะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีด้วย ซึ่งปกติจะถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ที่ 15% (สมมติว่า ออมเงิน 100 บาท ได้ดอกเบี้ยมา 4 บาท จะต้องเสียภาษี 15% บน 4 บาท ที่ได้มาด้วย ทำให้เหลือดอกเบี้ยสุทธิ 3.40 บาท) แต่การซื้อประกันบำนาญจะไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้
5. ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 200,000 บาท เป็นของแถม (ศึกษารายละเอียดว่าแบบประกันบำนาญไหนที่เข้าข่ายลดหย่อนภาษีได้) ถ้าใครฐานภาษี 20% ก็เท่ากับเหมือนได้ลดเบี้ยไป 20% เป็นการจูงใจการออมที่น่าสนใจมาก
6. ตลาดพันธบัตรในอนาคตยังคงดอกเบี้ยต่ำ เหมือนญี่ปุ่นที่ผ่านมาเกือบ 20 ปี แล้วอัตราดอกเบี้ยไม่เคยสูงขึ้น นับวันมีแต่น้อยลงจนติดลบไปแล้ว ซึ่งถ้าเวลาผ่านไปอีก 20 ปี แล้วพันธบัตรในประเทศไทยคงไม่สามารถกลับมาให้ดอกเบี้ยได้สูงดังเดิมอีกต่อไป
7. การถือประกันบำนาญเป็นการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุน โดยถ้าคิดง่ายๆ อาจจะคิดว่ามันเหมือนเป็นพันธบัตรชนิดหนึ่งที่ไม่เสียภาษี
สุดท้ายนี้ การวางแผนการเกษียณสำหรับคนไทยนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่จังหวะในการเลือกซื้อแบบประกันก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อตัดสินใจจ่ายเบี้ยประกันในปีแรกแล้วก็ควรจะจ่ายต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบหมด จึงจะคุ้มที่สุด โดยเฉพาะแบบประกันบางตัวที่เมื่อสมัย 20 ปี ที่แล้ว ถ้าใครถือเอาไว้จนถึงตอนนี้ ก็ยังได้ผลตอบแทนการันตีเฉลี่ยเกิน 5% ต่อปีกันถ้วนหน้า นอนกอด passive income กันสบายจนถึงตอนนี้
ขอขอบคุณอ้างอิง : เว็บซ์ภาควิชาจุลชีววิทยา
สามารถอ่านเพิ่มเติ่มได้ที่...
"ส่องรอยเศรษฐกิจจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรแบบ Inverted Yield Curve"
"10 คำทำนายของประกันชีวิต ในยุคดอกเบี้ยต่ำ"
FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons)
นายกสมาคมนักคณิญศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
อาจารย์บรรยายด้านการคำนวณผลประโยชน์พนักงานด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย
อาจารย์ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงิน
และผู้แต่งหนังสือ
- The Top Job Secret ภาค 1 – อาชีพเงินล้านที่คนไทยยังไม่รู้จัก
- The Top Job Secret ภาค 2 - ทำน้อยได้มาก ฉลาดเลือกงาน
- ให้เงินทำงาน ภาค 1 - การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินให้ถูกวิธี (Asset Liability Management)
- ให้เงินทำงาน ภาค 2 - วิเคราะห์ภาษีกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (ตัดสินใจวางแผนการออมเพื่อประโยชน์ทางภาษี)
Like
Share