13 เมษายน 2563
วุฒิการศึกษาและคุณวุฒิ
·
ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยม)
·
ปริญญาโท วิศวกรรมการเงิน City University of Hong Kong (Distinction)
·
ปริญญาโท บริหารธุรกิจ (MBA) City University of Hong Kong (Best presentation award)
·
Financial
Risk Manager (FRM) - Globak Association of Risk Professional จากสหรัฐอเมริกา
·
Chartered
Financial Analyst ระดับกลาง
(passed CFA
level 2) ของ The CFA Institute จากสหรัฐอเมริกา
·
ใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์
จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
·
ใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary License) ตามความในมาตรา 83/2
แห่ง
พรบ.ประกันชีวิต
·
ใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary License) ตามความในมาตรา 78/2
แห่ง
พรบ.ประกันวินาศภัย
·
นักคณิตศาสตร์ประกันภัยคุณวุฒิระดับเฟลโล่ของประเทศไทย (Fellow of the Society of Actuaries
of Thailand, FSAT)
·
นักคณิตศาสตร์ประกันภัยคุณวุฒิระดับเฟลโล่ของสหราชอาณาจักรอังกฤษ (Fellow of the Institutes of
Actuaries, FIA)
·
นักคณิตศาสตร์ประกันภัยคุณวุฒิระดับเฟลโล่ของประเทศสหรัฐอเมริกา (Fellow of the Society of Actuaries,
FSA)
ประสบการณ์การทำงานและตำแหน่งงานในสังคม
· นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
· นักสถิติดีเด่นแห่งชาติของสมาคมสถิติแห่งประเทศไทย
· อาจารย์พิเศษ
วิศวกรรมการเงิน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ (NIDA)
· รองเลขาธิการ
สภาธุรกิจประกันภัย
· กรรมการสำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย
· กรรมการผู้จัดการของบริษัท
แอคชัวเรียลบิซ จำกัด (ABS)
· บรรณาธิการและผู้เขียนหนังสือ
Best Seller (The Top Job Secret และ ให้เงินทำงาน)
· ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์
รัก 2 ปี
ยินดีคืนเงิน Love Battle ของค่ายหนัง CJ
Major
แจกฟรี ! ไฟล์คำนวณผลประโยชน์พนักงาน ตามกฎหมาย 400 วัน (NPAE)
หลาย ๆ คนคงจะทราบแล้วว่า เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ออก ซึ่งจะมีผลหลังจาก 30 วันนับจากวันประกาศ หรือก็คือมีผลบังคับใช้ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม
โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ หรือเรียกว่าโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 มีการปรับปรุงและเพิ่มเติมเนื้อหาขึ้นมาหลายมาตรา แต่ที่อยู่ในความสนใจของใครหลาย ๆ คน ก็คงจะเป็นการปรับปรุงแก้ไขมาตรา 118 ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยจากการเลิกจ้างให้แก่พนักงาน ที่แต่เดิม จะจ่ายพนักงานเป็นจำนวนค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน หรือ 10 เดือน แก่พนักงานที่อายุงานครบ 10 ปีขึ้นไป แต่ในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ ได้เพิ่มเงินชดเชยให้แก่พนักงานที่อายุงานครบ 20 ปีขึ้นไป โดยกำหนดให้จ่ายเงินชดเชยจำนวนเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 400 วัน หรือ 13.33 เดือน
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้น จะส่งผลให้การประเมินภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน (Employee Benefit) เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ดังนั้น กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ และบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน สําหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs) สามารถดาวน์โหลด Worksheet การคำนวณภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่ได้ฟรี
ดาวน์โหลด worksheet คลิกที่นี่
ทั้งนี้ Worksheet การคำนวณนี้ เป็นการคำนวณหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ตามบทที่ 16 ในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน สําหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ซึ่งเป็นวิธีการประมาณการที่ดีที่สุด โดยไม่ได้ใช้หลักคณิตศาสตร์ประกันภัย รวมถึง การคำนวณนี้ ได้ละสมมติฐานทางคณิตศาสตร์ประกันภัยบางสมมติฐานไป เช่น สมมติฐานอัตรามรณะ สมมติฐานอัตราการขึ้นเงินเดือน และสมมติฐานอัตราคิดลดเป็นต้น
ดังนั้น โปรดใช้ดุลยพินิจในการคำนวณและนำตัวเลขไปบันทึกบัญชีทุกครั้ง โดย บริษัท แอคชัวเรียล บิสซิเนส โซลูชั่น จำกัด ไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบหากหนี้สินสูงหรือต่ำเกินไป และหากจำนวนพนักงาน หรือการประมาณการหนี้สินผลประโยชน์พนักงานเริ่มมีนัยสำคัญกับบริษัท ควรปรึกษาผู้สอบบัญชีเพื่อใช้การคำนวณตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย
สำหรับใครที่ดาวน์โหลด Worksheet ไปแล้ว แต่ไม่ทราบว่าจะใช้ Worksheet หรือกรอกข้อมูลพนักงานอย่างไร สามารถกดดูวีดีโอสอนการใช้ และคำนวณในคลิปด้านล่างนี้ได้ครับ
โดย: อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน) ด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย คุณวุฒิสูงสุดระดับเฟลโล่
FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons)
นายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
อาจารย์บรรยายด้านการคำนวณผลประโยชน์พนักงานด้วยหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย
อาจารย์ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ Love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงิน
และผู้แต่งหนังสือ
The Top Job Secret ภาค 1 – อาชีพเงินล้านที่คนไทยยังไม่รู้จัก
The Top Job Secret ภาค 2 - ทำน้อยได้มาก ฉลาดเลือกงาน
ให้เงินทำงาน ภาค 1 - การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินให้ถูกวิธี (Asset Liability Management)
ให้เงินทำงาน ภาค 2 - วิเคราะห์ภาษีกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (ตัดสินใจวางแผนการออมเพื่อประโยชน์ทางภาษี)
ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง